“ไวน์อาร์เจนตินา” กับสีสันแห่งอเมริกาใต้

กาเตนา ซาปาตา ฟอร์ตูนา แตร์แร 2016

กาเตนา ซาปาตา มาลเบค อาร์เจนติโน 2017

เขตทำไวน์ของอาร์เจนตินา

เขตเมนโดซา

ภาพจากสุสานของเธอ

มาลเบคคุณภาพดีราคาย่อมเยา

มาลเบครุ่นซิงเกิ้ง วินเยิร์ด

ไร่องุ่นในอาร์เจนตินา

ไวน์ขาว

ไวน์ขาวจากองุ่นตอร์รอนเตส

หนึ่งในภาพที่แสดงถึงความเป็นอาร์เจนตินา

องุ่นมาลเบค

เอวา เปรอง ปราศัยกับฝูงชน

เอวา เปรอง เวอร์ชั่นมาดอนนา“Don’t Cry For Me Argentina !!!!!!…..”
เสียงเพลงที่ก้องกระหึ่มเกาะแมนฮัตตัน นครนิวยอร์ก เมื่อประมาณ 40 กว่าปีที่แล้ว ทำให้โรงละครบรอดเวย์เนืองแน่นทุกรอบ และทำให้หลายคนได้รู้จักประเทศ ”อาร์เจนตินา” มากกว่ารู้ว่าเป็นหนึ่งในประเทศอเมริกาใต้
เสียงเพลงที่ก้องกระหึ่มเกาะแมนฮัตตัน นครนิวยอร์ก เมื่อประมาณ 40 กว่าปีที่แล้ว ทำให้โรงละครบรอดเวย์เนืองแน่นทุกรอบและทำให้หลายคนได้รู้จักประเทศ ”อาร์เจนตินา” อย่างลึกซึ้ง มากกว่ารู้ว่าเป็นหนึ่งในประเทศอเมริกาใต้
คนรุ่นใหม่ในยุคนี้คงจะไม่คุ้นกับ “Don’t Cry For Me Argentina…..” หรืออาจผ่านหูผ่านตาบ้างในยุคของ “มาราดอน” ในปี 1996 แต่ก็มีสิ่งที่เสริมเติมแต่งเข้ามาให้มีสีสันนั่นคือ…ไวน์อาร์เจนตินา ซึ่งยุค 30 – 40 ปีที่แล้วในบ้านเราไม่รู้จักกันเลย !
ในงาน Vinexpo Asia 2024 ที่ฮ่องกง ระหว่างวันที่ 28-30 พฤษภาคม ที่ผ่านมา มีผู้ผลิตไวน์จากอาร์เจนตินามาออกบูทหลายราย บางรายผมเคยไปชิมของเขาถึงไรที่เมนโดซา (Mendoza) ขณะที่ผู้ผลิตสูงวัยบางรายนอกจากคุยเรื่องไวน์ของเขาแล้ว ก็คุยกันเรื่อง….“Don’t Cry For Me Argentina…” อย่างออกรส เป็นการเสริมรสชาติที่ดียิ่ง ไวน์บางตัวได้ได้อร่อยมากนัก แต่เลิศรสอยู่ที่คนและที่เรื่องราวข้างเคียง !!
“Don’t Cry For Me Argentina” โด่งดังในยุค 1976 เป็นต้นมาโดยเป็นหนึ่งในเพลงชุด Evita ซึ่งสะท้อนเรื่องราวของ “เอวา เปรอง” (Eva Peron) สตรีหมายเลขหนึ่งของอาร์เจนตินา ดนตรีโดยแอนดรูว์ ลอยด์ เวบบเบอร์ (Andrew Lloyd Webber) พ่อมดวงการบันเทิงแห่งลอนดอน เนื้อร้องโดยทิม ไรซ์ (Tim Rice) ร้องโดยจูลี โคฟวิงตัน (Julie Covington) โดยเพลงนี้เดิมใช้ชื่อว่า “It’s Only Your Lover Returning” ก่อนที่ไรซ์มาเปลี่ยนชื่อภายหลัง และต่อมาก็มีผู้ร้องอีกหลายคน แปลอีกหลายภาษา
Eva Peron หรือ Evita ตามภาษาสเปน มีชื่อเต็มว่า มาเรีย เอวา ดูอาร์เตเดอ เปรอง (María Eva Duarte de Perón) โด่งดังที่สุดตั้งแต่นายพลฆวน โดมิงโก เปรอง (Juan Domingo Perón : 1895–1974) ชนะการเลือกตั้งได้เป็นประธานาธิบดี เมื่อปี 1946 เธอในฐานะสตรีหมายเลข 1 ได้ฉายาว่า “สตรีเหล็ก”
ช่วงที่เป็นพันเอก ฆวน เปรอง รูปหล่อ และมีชื่อเสียงโด่งดังมาก กล้า บ้าบิ่น มีบุคลิกเป็นผู้นำ ขณะที่ Eva มาจากไหนไม่ปรากฏ รู้แต่ว่าก่อนจะมาเป็นเมียผู้พัน เธอมาจากสลัมยากจน ใช้ความสวยความสาวผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนผู้ชายเป็นบันไดไต่ให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ชายที่เคยหลับนอนกับเธอบอกว่า Eva เป็นโสเภณีสวยและรวยเสน่ห์ที่สุดในบัวโนส ไอเรส ในบทละครระบุเรื่องดังกล่าวไว้ชัดเจน
ประชาชนฐานล่างของประเทศ บูชายกย่องเธอราวพระแม่เจ้าผู้มาโปรดโลกมนุษย์ เธอใช้นโยบายประชานิยมมาช่วยคนจน คนจนรากหญ้าของอาร์เจนตินาสมัยนั้น ได้รับของแจกหรือเงินประจำ ใครที่เข้าไปเกี่ยวดองยุ่งเกี่ยวกับรัฐบาลแล้วอยากได้ความสะดวกสบาย ต้องใช้เงินเป็นน้ำมันหล่อลื่น ขณะที่ผู้ปกครองระดับบนยอดแหลมปิรามิด เกลียดชังเธอยิ่งกว่าหมาขี้เรื้อน ต่อหน้าจำใจต้องเคารพ เพราะเธอคือสตรีหมายเลขหนึ่ง แต่ลับหลังก่นด่า เพราะเสียเกียรติภูมิที่ต้องตกทำความเครรพอดีตหญิงงามเมือง
ทุกลมหายใจของพวกนายทหารชั้นสูงและนักธุรกิจ จ้องโค่นอำนาจนายพลฆวน เปรองทุกวินาที มาสำเร็จในปี 1955 นายพลเปรองถูกปฏิวัติต้องระเห็ดไปอยู่ต่างประเทศ ขณะที่ Eva ตายด้วยโรคมะเร็งด้วยวัยเพียง 33 ปี ส่วนนายพลเปรองสามียังมีอิทธิพลแฝงหลงเหลืออยู่ และกลับมาเป็นประธานาธิบดีอีกครั้งในปี 1973 พร้อมแต่งงานใหม่กับอิซาเบล และแต่งตั้งให้เธอเป็นรองประธานาธิบดี เมื่อนายพลฆวน เปรองตายในปี 1974 อิซาเบลจึงนั่งเก้าอี้ผู้นำประเทศ พร้อมนโยบายประชานิยม
นิตยสารไทม์ ของอเมริกา ได้จัดให้ เอวา เปรอง เป็นหนึ่งใน 100 สตรีผู้ทรงอิทธิพลของโลก ในเล่มพิเศษ 100 Women of the Year เผยแพร่เมื่อเดือนมีนาคม 2563 และให้ฉายาเธอเป็น Woman of People หรือ สตรีของมวลชน
ประวัติศาสตร์การเมืองอาร์เจนตินามีผู้นำหญิงอีกครั้งในปี 2007 นางคริสตินา เฟอร์นันเดซ เดอ เคิร์ชเนอร์ ภริยาประธานาธิบดีเนสเตอร์ เคิร์ชเนอร์ ชนะการเลือกตั้ง และก้าวขึ้นเป็นผู้นำอาร์เจนตินา แต่สีสันและเรื่องราวต่าง ๆ เทียบ ไเอวา เปรอง” ไม่ได้………..
กลับมาที่เริ่งราวของไวน์อาร์เจนตินาซึ่งมีรากฐานมาจากสเปนสมัยอาณานิคม โดย ฆวน ซีดรอน (Juan Cedrón หรือ Cidrón) นำองุ่นต้นแรกมาที่ซานติอาโก เดล เอสเตโร (Santiago del Estero) ในปี 1557 และผลิตแบบปริมาณมากกว่าคุณภาพ เพราะ 90% ดื่มกันเองในประเทศ กระทั่งทศวรรษ 1990 การส่งออกจึงเริ่มอย่างจริงจัง วันนี้อาร์เจนตินาเป็นผู้ผลิตไวน์รายใหญ่ที่สุดในอเมริกาใต้ และเป็นที่ 5 ของโลก ส่งออกไวน์เป็นอันดับ 13 ของโลก
เขตผลิตไวน์ที่สำคัญ ๆ ของอาร์เจนตินาแบ่งเป็น 4-5 เขต แต่ที่ต้องกล่าวถึงคือ “เมนโดซา” (Mendoza) เป็นเขตที่ผลิตไวน์ถึงกว่า 60 % ของประเทศ และส่งออกมากกว่าทุกเขต เมนโดซาตั้งอยู่บนที่ราบสูงตอนกลาง ทางตะวันตกของประเทศ ติดเทือกเขาแอนดีสที่กั้นพรมแดนกับชิลี ได้รับฉายาว่า “ลิตเติ้ล อิตาเลียน” (Little Italian) เนื่องจากมีชาวอิตาลีอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก วิชาการทำไวน์ส่วนหนึ่งก็ได้จากชาวอิตาเลียนนี่เอง
เมนโดซาเป็นหัวใจในการผลิตไวน์ของอาร์เจนตินา เป็นแหล่งผลิตไวน์คุณภาพ ผู้ผลิตไวน์ที่มีชื่อเสียงอยู่ในเขตนี้หลายราย พื้นที่ที่ทำไวน์ระดับคุณภาพคลาสสิค (Fine Wine) คือยูโก แวลลีย์ (Uco Valley) มีผู้ผลิตชื่อดัง เช่น Bodega Catena Zapata ทำ Malbec และ Cabernet Sauvignon ได้ยอดเยี่ยมมาก และ Terrazas de los Andes ซึ่งจับมือกับ Chateau Cheval Blanc จากฝรั่งเศสทำไวน์รุ่น Cheval des Andes ได้ยอดเยี่ยมมาก ทั้ง 2 ยี่ห้อนี้มีขายในเมืองไทย ควรหาโอกาสลิ้มรสสักครั้งในชีวิต

เมนโดซาผลิตไวน์จากองุ่นหลายสายพันธุ์ทั้งพื้นเมืองและสายพันธุ์คลาสสิคจากยุโรป แต่พระเอกต้องยกให้ มาลเบค (Malbec) ซึ่งอาร์เจนตินาคุยว่าเป็นผู้ผลิตไวน์จากองุ่นมาลเบค ได้ดีที่สุดในโลก ปัจจุบันได้รับการโปรโมทเป็น “องุ่นแดงประจำชาติอาร์เจนตินา” หลังจากพเนจรมาจากประเทศฝรั่งเศส ในปี 1861 และประเทศนี้ผลิตไวน์แดงจากมาลเบคประมาณ 75% ของผลผลิตมาลเบคทั่วโลก
ส่วน “ตอร์รอนเตส” (Torrontés) เป็นองุ่นเขียวพื้นเมืองและถือเป็น “องุ่นเขียวประจำชาติของอาร์เจนตินา” มีต้นกำเนิดมาจากการผสมข้ามสายพันธุ์ (Cross) ระหว่างปาอิส (País) องุ่นแดงพื้นเมืองของชิลี กับมุสกาต์ ดาเล็กซองดรี (Muscat d’Alexandrie) ซึ่งบนเกาะซิชิลีของอิตาลีเรียกว่าซิบิบโบ (Zibibbo)
แคแล็กเตอร์ของ “ตอร์รอนเตส” จะมีกลิ่นที่อบอวลของ ผลไม้เมืองร้อน และดอกไม้ ฟูลบอดี้ มีแอลกอฮอล์และแอซสิดค่อนข้างสูง ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า “ตอร์รอนเตส” มีความใกล้เคียงกับซิบิบโบมาก เพียงแต่“ตอร์รอนเตส” จะมีแอซสิดสูงกว่า
ถึงตอนนี้ก็ต้องแนะนำ “มาลเบค” จากอาร์เจนตินา สักหน่อย
โบเดกา กาเตนา ซาปาตา เอเดรียนนา วินเยิร์ด “ฟอร์ตูนา แตร์แร” มาลเบค 2016 (Bodega Catena Zapata Adrianna Vineyard Fortuna Terrae Malbec 2016) : คำว่า “Fortuna Terrae” ในภาษาลาตินหมายถึง “Luck of the Land” ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะไร่ Adrianna อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 5,000 ฟุตจากระดับน้ำทะเล จึงเต็มไปด้วยเมฆหมอกและเสียงร้องของนกนานาชนิด เป็นดินแดนที่โชคดีมีความสุข
ทำจากมาลเบค (Malbec) 100 % หมักในถังโอ๊คหลายขนาด จากนั้นบ่มในโอ๊คฝรั่งเศส 18 เดือน อยู่ในขวดอีก 24 เดือน สีแดงเข้ม สดใส หอมกลิ่นผลไม้ แบล็คเบอร์รี บลูเบอร์รี ราสพ์เบอร์รี ดอกไวโอเล สไปซีเฮิร์บ จันทร์เทศ อบเชย ใบยาสูบ สไปซีโอ๊ค ควันไฟ ชอกโกแลต ผงโกโก้ แอซสิดปานกลางแต่สดชื่น แทนนินหนักแน่นและเริ่มนุ่ม จบยาวด้วยผลไม้ สไปซี่เฮิร์บ มิเนอรัล เป็นมาลเบคอากาศเย็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง สามารถดื่มใน ณ เวลานี้ แต่อาจจะยังไม่เปิดตัวเต็มที่นัก น่าจะอีกประมาณ 2-3 ปี……19.5/20 คะแนน
กาเตนา ซาปาตา มาลเบค อาร์เจนติโน อูโก แวลลีย์,อาร์เจนตินา 2017 (Catena Zapata Malbec Argentino Uco Valley,Argentina 2017) : หนึ่งในมาลเบคที่อร่อยจากอาร์เจนตินา ฉลากสื่อถึงองุ่นมาลเบคที่ถูกแมลงฟีลลัคเซอระ (Phylloxera) ทำลายจนแทบเกลี้ยงทวีปยุโรปรวมทั้งฝรั่งเศส มาลเบคจึงถูกนำมาปลูกที่อาร์เจนตินาเหมือนตายแล้วเกิดใหม่ กระทั่งกลายเป็นองุ่นแดงประจำชาต
ครอบครัว Catena ก็ทำมาจนถึงทายาทรุ่นที่ 4 ในอูโก แวลลีย์ (Uco Valley) แหล่งผลิตไวน์ระดับหัวกระทิของเขตเมนโดซา ทำจากมาลเบค 100% หมักในถังโอ๊คและบ่ม 18 เดือนในถังโอ๊คฝรั่งเศส ผลิตเพียง 22,800 ขวด
สีแดงเข้มสดใส หอมกลิ่นผลไม้สุก เช่น บลูเบอร์รี แบล็คเบอร์รี แบล็คเชอร์รี และราสพ์เบอร์รี สไปซีเฮิร์บ ชะเอมเทศ จันทน์เทศ โอคหอมกรุ่น ดอกไวโอเลต กาแฟคั่ว ควันไฟ มิเนอรัล แทนนินหนักแน่นแต่นุ่มเนียน แอซสิดสดชื่น ฟูลบอดี้ จบยาวด้วยผลไม้ โอคหอมกรุ่น และมิเนอรัล สามารถดื่มในตอนนี้เป็นต้นไป และเปิดขวดสัก 10 -15 นาทีดื่มได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องดีแคนต์ เป็นมาลเบคที่อร่อยมากในตลาดเมืองไทย….19.5/20 คะแนน
“Don’t Cry For Me Argentina…..”
“อย่าร้องไห้เพื่อฉัน อาร์เจนตินา…..”
จะไม่ร้องสักแอะ ถ้าไวน์อาร์เจนตินา ถูกลงอีก !!!!

Thawatchai Tappitak

ธวัชชัย เทพพิทักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวน์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่าง ๆ รวมทั้งด้านอาหาร เคยเดินทางไปทำไวน์ในยุโรป 5 ปีครึ่ง จึงนำประสบการณ์ด้านดังกล่าวมาถ่ายทอดสู่แวดวงที่เกี่ยวข้อง นานกว่า 20 ปี เป็นกรรมการตัดสินไวน์ บาร์เทนเดอร์ ฯลฯ ปัจจุบันเป็นคอลัมนิสต์ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และนิตยสาร เช่น Thailand Restaurant News,GQ,Gastrogsm ฯลฯ นอกจากนั้นยังสอนไวน์ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย ------------- ข้อมูลบทความ/ภาพ/วิดีโอ ในเว็บไซต์ ThatwatchaiGURU.com เป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียน การนำไปเผยแพร่ไม่ว่าในรูปแบบใดๆ (นอกจากการแชร์) ต้องได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ----------- ติดต่อ: ThawatchaiGURU@at-Bangkok.com

You may also like...