Category: spirit

การประมูล วิสกี้

“วิสกี้” ทรัพย์สินสูงมูลค่าในการลงทุน

เมื่อช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2566 มีข้อมูลเผยแพร่ออกมาว่า “วิสกี้” (Whisky) กลายเป็น “สินทรัพย์เพื่อการลงทุนที่โตมากที่สุดในรอบ 10 ปี” เติบโตถึง 373 % ขณะที่ไวน์โตขึ้น 162% เรื่องนี้ไม่แปลกใจเลยเพราะในการประมูลวิสกี้โดยสถาบันดัง ๆ ทั่วโลกมีคนให้ความสนใจมาก และมักจะได้ราคาสูง ๆ ที่สำคัญมีการประมูลหลากหลายรูปแบบ เมื่อ 6-7 ปีที่แล้วผมรู้จักกับผู้ใหญ่คนหนึ่งที่มีบริษัทนำเข้าไวน์มาขายในเมืองไทย โดยเฉพาะไวน์แพง ๆ จากประเทศต่าง ๆ ที่ผู้นำเข้ารายอื่นไม่ค่อยมี หลังจากนั้นไม่กี่ปีเจอกันอีกทีปรากฏว่าบริษัทนี้มีวิสกี้แพง ๆ และรุ่นที่หายากเป็นจำนวนมาก เขาให้เหตุผลว่าวิสกี้ซื้อง่ายขายคล่อง ที่สำคัญการเก็บรักษาและการขนส่งง่ายกว่าไวน์เยอะ เรียกว่าความเสี่ยงน้อยกว่าไวน์เยอะเลย...

รัม บาร์

“จาเมกา รัม” หอมอบอวลจากชาวเกาะ

…“จาเมกา” (Jamaica) ที่บ้านเราเรียกกันว่า “จาไมกา” เป็นประเทศที่เป็นเกาะในภูมิภาคเกรตเตอร์แอนทิลลีส ตั้งอยู่ในทะเลแคริบเบียน เกาะยาว 240 กิโลเมตร กว้าง 85 กิโลเมตร อยู่ทางใต้ของเกาะคิวบา 150 กิโลเมตร ไป และ 180 กิโลเมตร มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากเกาะคิวบาและเกาะฮิสปันโยลา ชื่อประเทศ “จาเมกา” มาจากการเรียกขานของชนพื้นเมืองตาอีโน (Taíno) ที่เรียกเกาะนี้ว่า “ฌาเมคา” (Xaymaca) ซึ่งแปลได้เป็น 2 ความหมายคือ “ดินแดนแห่งใบไม้ผลิ” หรือ...

กาลูอารุ่มต่าง ๆ

“กาลูอา” ศาสตร์แห่งเหล้ากับกาแฟ

เมืองไทยในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา “กาแฟ” เข้ามามีบทบาทกับสังคมไทยในหลาย ๆ ด้าน นอกเหนือจากการดื่มในชีวิตประจำวันอย่างแต่ก่อน เรียกว่ามีหลายมิติมากขึ้น หนึ่งในจำนวนนั้นคือการผสมผสานกาแฟกับแอลกอฮอล์ ซึ่งมีความพยายามมาหลายปีแล้ว แต่ยังไม่สามารถทำได้เพราะกฎหมายไม่อนุญาต จากการที่เป็นกรรมการคัดเลือก OTOP ประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาแต่แรกเริ่ม มีผู้ทดลองทำและนำมาชิมโดยตลอดและหลายรายทำได้ดีมาก พูดถึงการผสมผสาน “กาแฟกับแอลกอฮอล์” ประเทศที่ทำได้ดีและโกยเงินเข้าประเทศปีละมหาศาลก็ต้องเป็นเม็กซิโก ชาติที่มีอารยะธรรมเก่าแก่ชาติหนึ่งของโลก ที่มีมรดกตกทอดที่หลากหลาย หนึ่งในจำนวนนั้นก็คือวัฒนธรรมด้านเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เมื่อพูดถึงเม็กซิโกส่วนใหญ่จะนึกถึง “เตกีลา” (Tequila) เหล้าขาวดีกรีแรงเป็นอันดับแรก น้อยคนนักจะคิดถึง “กาลูอา” (Kahlúa) เหล้าที่ผสมผสาน“กาแฟกับแอลกอฮอล์” ได้อย่างลงตัว และศักดิ์ศรีไม่ได้เป็นรองเตกีลา และในบ้านเราเรียกกันว่า “คาห์ลัว”...

เปรู ปิสโก

“เปรู ปิสโก” อารยธรรมแดนอินคา

…ปลายปี 2547 บริษัท ติลลิกี แอนด์ กิบบินส์ อินเตอร์เนชั่นแนล ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากรัฐบาลเปรู ได้ยื่นเอกสารขอจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ประเภทสุราชื่อ “ปิสโก” (Pisco) ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาของไทย เนื้อหาระบุว่า… “ปิสโก” เป็นชื่อเมืองทางชายฝั่งตะวันตกของเปรู มีชื่อในฐานะแหล่งผลิตเหล้าองุ่น มีความเป็นโบราณที่เชื่อมโยงตั้งแต่องุ่นที่ปลูกในพื้นถิ่น วัฒนธรรม และกรรมวิธีทำเหล้าองุ่นที่ผสมสานทั้งวัฒนธรรมและเทคโนโลยีที่พัฒนาในหุบเขาอินคา มีอายุยั่งยืนมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 และเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของเปรู….” ถือเป็นรายแรกที่ยื่นขอจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (จีไอ) หลังไทยมีกฎหมายคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นไปได้ที่เปรูต้องการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดเสรีกับไทย (FTA) ประเทศเปรูสำหรับคนไทยส่วนใหญ่รู้จักกันคือ “มาชู ปิกชู” (Machu Picchu)...

พิธีการหน้า Blair Castle

“จักรกฤต เบเนเดทตี้” ได้รับคัดเลือกให้เป็น “Keepers of The Quaich”

“We look to Scotland for all our ideas of civilization” ความตอนหนึ่งที่ “วอลแตร์” (Voltaire) ปราชญ์,นักเขียน และนักประวัติศาสตร์ในยุคเรืองปัญญาของฝรั่งเศส กล่าวถึงประเทศสกอตแลนด์ สกอตแลนด์ (Scotland) ประเทศที่เล็กก็ด้วยแค่จำนวนประชากรและขนาดพื้นที่ หากแต่เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่จนน่าอัศจรรย์ หากวัดในด้านผลงานที่ผลิตสู่ชาวโลกและยังสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ผลงานปรัชญาและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ของชาวสกอตช์ในยุค Enlightenment ซึ่งนำโดยนักปรัชญาชั้นนำอย่าง เดวิด ฮูม (David Hume) และ อดัม สมิธ (Adam Smith) นั้นปลุกยุโรปให้ตื่นจากความหลับใหล...

5j4

“จิน” เครื่องดื่มทรงโปรดควีนเอลิซาเบธที่ 2

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (Queen Elizabeth II) สวรรคตเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา สิริพระชนมพรรษา 96 พรรษา หลังจากครองราชบัลลังก์มานานกว่า 70 ปี เป็นความเศร้าต่อพลเมืองอังกฤษและทั่วโลก ! สำหรับคนที่เคยใกล้ชิดกับพระองค์ เป็นที่รู้กันว่าพระราชินี เอลิซาเบธที่ 2 ทรงสุนทรียภาพและอัจฉริยภาพหลากหลายประการ หนึ่งในจำนวนนั้นเครื่องดื่ม โดยมีชนิดหนึ่งที่สื่ออังกฤษมักจะกระเซ้าว่า เจ้าสิ่งนี้เองที่ทำให้พระองค์พระชนมายุยืนนานนั้นคือ “จิน” “จิน” (Gin) เป็นเครื่องดื่มสุดโปรดของพระราชินี เอลิซาเบธที่ 2 รวมไปถึงควีนมัม พระองค์ต้องพกติดกระเป๋าไว้เสมอ...

เมซคาลที่ใส่หนอน

“เมซกาล” จากสุราชุมชนสู่ระดับโลก

ระหว่างวันที่ 21 – 30 สิงหาคม 2565 ผมได้รับเชิญให้เป็นหนึ่งในกรรมการคัดสรรผลิตภัณฑ์โอทอป (OTOP) ระดับประเทศ ประจำปี 2565 ในส่วนของ “เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์” ส่วนใหญ่เป็นสุราแช่ เช่น ไวน์ผลไม้ ไวน์สมุนไพร กระแช่ สาโท และสุรากลั่น มีทั้งกลั่นจากข้าว ผลไม้ และสมุนไพรต่าง ๆ ที่ผ่านมาผมได้รับเชิญเป็นกรรมการมาโดยตลอดตั้งแต่ครั้งแรก ที่มี“เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์” OTOP เป็นพัน ๆ ชนิด จนถึงปัจจุบันเหลือไม่ถึง 100 ชนิด และเห็นการนำพืช...

เมืองเตกีลา

“เตกีลา” วัฒนธรรมจากภูมิปัญญา

วันที่ 24 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา เป็นวัน “National Tequila Day” บาร์ทั่วโลกต่างพากันจัดรายการเฉลิมฉลองกันอย่างครื้นเครง แทบจะเรียกว่าเป็นครั้งแรกหลังจากการมาเยือนของโควิด-19 เนื่องจาก “เตกีลา” (Tequila) ใช่เป็นส่วนผสมของเครื่องดื่มหรือค็อกเทลหลาย ๆ อย่าง แต่ที่ยิ่งใหญ่และอลังการที่สุดในโลกก็ต้องเป็นเม็กซิโก (Mexico) ซึ่งไม่ใช่เพียงเป็นต้นกำเนิดของเตกีลาเท่านั้น แต่เตกีลาเป็นทุกสิ่งทุกอย่างของชาวเม็กซิกัน ที่สำคัญเป็นวัฒนธรรมที่สืบสานกันมายาวนานหลายร้อยปี !! เม็กซิโก เป็นอีกชาติหนึ่งที่สามารถนำพืชพันธุ์พื้นเมืองที่แทบจะไม่มีค่า มาทำให้มีมูลค่า นำเงินเข้าประเทศอย่างมหาศาล บ้านเราก็มีพืชพันธุ์หลายอย่างที่มีศักยภาพสามารถทำได้ แต่ที่ทำไม่ได้เพราะติดเงื่อนไขหลายอย่าง ทั้งข้อกฎหมายที่ปิดกั้น และขนบธรรมเนียมบางอย่าง นับว่าน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง เตกีลา เป็นเหล้ากลั่นตระกูลหนึ่งของเม็กซิโก...

c9

“คอนนอลลีย์” คลาสสิคไอริช วิสกี้

“I can resist anything….except temptation” ผมเห็นข้อความนี้อยู่ข้างกล่องวิสกี้แบรนด์หนึ่ง ตอนแรกคิดว่าจะอ่านผ่าน ๆ ไป แต่นึกเอะใจว่าเคยเห็นอยู่ที่ไหนสักแห่ง… และขนลุกเมื่อเห็นชื่อเจ้าของประโยคดังกล่าว “Oscar Wilde” (ออสการ์ ไวลด์) หนึ่งในยอดกวีและนักเขียนของไอริช ครั้งแรกเมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว ผมไปดับลิน (Dublin) เมืองหลวงของไอร์แลนด์ (Ireland) หรือสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (Republic of Ireland) ภารกิจหลักคือชิมไอริช วิสกี้ เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ตกหลุมรัก หลังจากนั้นก็ได้ไปอีก 2 ครั้ง เป็นประเทศที่ไปแล้วไม่รู้เบื่อ...

วอดก้า ค็อกเทล

“วอดก้า” วัฒนธรรมร่วมสายเลือดรัสเซีย-ยูเครน

…. จากปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน ลุกลามมาลงในขวดเหล้าอีกรายหนึ่ง แถมเป็นรายใหญ่เมื่อ ”สโตลิ กรุ๊ป” (Stoli Group) เจ้าของวอดก้าชื่อดัง ”สโตลิคนายา” (Stolichnaya) เตรียมจะเปลี่ยนชื่อวอดก้าเป็น “สโตลิ วอดก้า” (Stoli Vodka) “สโตลิคนายา” (Stolichnaya) นั้นไม่ธรรมดา เป็นยักษ์ใหญ่วอดก้าระดับหัวแถวของโลก มีต้นกำเนิดในโกดังหมายเลข 1 สำหรับเก็บไวน์ของมอสโกว์ ที่เปิดในปี 1901 โดยการได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการ ให้ผลิตวอดก้าคุณภาพสูง ปี 1953 Stolichnaya ถูกแนะนำตัวในงานการค้าระดับนานาชาติที่กรุงเบอร์ลิน และได้เหรียญทองกลับมา ก่อนการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ขวดที่ใช้บรรจุเพื่อการส่งออกถูกผลิตในยูเครน...

โซจู วัฒนธรรมแห่งเกาหลี

“โซจู” สายเลือดสีขาวที่เข้มข้นของคนเกาหลี

กลางเดือนมีนาคม 2565 ที่ผ่านมา มีเรื่องฮือฮาเมื่อ นางสาวลลิษา มโนบาล หรือ “ลิซ่า แบล็กพิงค์” เปิดตัวเป็นพรีเซ็นเตอร์และแอมบาสซาเดอร์หญิงคนแรกในเอเชียให้กับชีวาส รีกัล สก็อต วิสกี้ชื่อดังระดับโลก สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ดูจะเป็นหน่วยงานที่เต้นเรื่องนี้มากที่สุด..!! ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปี 2551 มาตรา 32 ของ พ.ร.บ. มีเนื้อความว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ห้ามแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณ หรือชักชวนใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม” อย่างไรก็ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวระบุไว้ว่า “บทบัญญัติในวรรคหนึ่งและวรรคสอง มิให้ใช้บังคับกับการโฆษณาที่มีต้นกําเนิดนอกราชอาณาจักร” เป็นสาเหตุที่คนทั่วไปเห็นโฆษณานี้ ทั้งชีวาสและลิซ่า...

ทางเข้า

“KI” สัมผัสวัฒนธรรม“อีซากายา-สาเก”

… “อีซากายา หรือ อิซากายะ” (Izakaya) เป็น “ร้านเหล้าสไตล์ญี่ปุ่น” อีกรูปแบบหนึ่ง ที่จะออกแนวครึ่งๆกลางๆ ระหว่าง ผับ ขณะที่ในบ้านเราส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าเป็น “ร้านอาหาร” (Restaurant) แม้วัฒนธรรรมอีซากายาจะมีมานมนาน แต่คำว่า Izakaya (หรือ Izakaja) ถูกจะนำมาใช้อย่างจริงจังประมาณ พ.ศ. 2530 นี่เอง โดยนำมาจาก 2 คำ คือ i แปลว่า ”ฉันหรือเรา” และ Sakaya หมายถึง “ร้านสาเก”...

Buffalo Trace Bourbon

“บัฟฟาโล เทรซ” เบอร์เบินแห่งประวัติศาสตร์สหรัฐ

“This Flagship Bourbon History in Every Sip” เป็นคำกล่าวอ้างที่ผู้เชี่ยวชาญเปรียบเทียบถึง ”บัฟฟาโล เทรซ” เคนตั๊กกี สเทรท เบอร์เบิน วิสกี้ (Buffalo Trace Kentucky Straight Bourbon Whiskey) เบอร์เบินที่ผลิตมาเกือบ 250 ปี ไม่ใช่เรื่องธรรมดาที่จะอยู่ได้ขนาดนี้ ในประเทศที่ธุรกิจจ๋าอย่างสหรัฐอเมริกา “โรงกลั่น บัฟฟาโล เทรซ” (Buffalo Trace Distillery) อยู่ที่เมืองแฟรงค์ฟอร์ท (Frankfort) รัฐเคนตั๊กกี...