“Pavie and Angelus promoted in new St Emilion Classification…”
นี่คือข่าวใหญ่ของวงการไวน์ไม่เฉพาะฝรั่งเศสเท่านั้น แต่เป็นข่าวดังระดับโลก ของวงการไวน์เมื่อที่แล้ว
ทำไมจึงเป็นข่าวใหญ่ข่าวดัง เพราะไวน์ของตำบลแซง เตมิยอง (St.-Emilion) มีการปรับเกรดทุก ๆ 10 ปี แน่นอนการปรับเกรดที่สูงขึ้นหมายถึงรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย แต่การปรับครั้งล่าสุดเมื่อปี 2006 เป็นบัญชีที่เละเทะที่สุดเท่าที่มีการปรับกันมา จนมีการฟ้องร้องถึงโรงถึงศาล สาเหตุสำคัญเพราะกรรมการบางคนเป็นเจ้าของไวน์ที่ได้รับการปรับเกรดขึ้นมา เรื่องของผลประโยชน์มีอยู่ในทุกวงการ
St.-Emilion เป็นหนึ่งในเขตผลิตไวน์สำคัญและเก่าแก่ของเมืองบอร์กโดซ์ จนองค์การยูเนสโกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในปี 1999 อยู่ในจังหวัดลีบูร์เน่ส์ (Libournais) ริมฝั่งขวาของแม่น้ำฌีฮองด์ (Gironde) จึงเป็นที่มาของคำว่าไวน์ “ฝั่งขวา” (Right Bank) ร่วมกับตำบลปอเมอรอล (Pomerol) ใช้องุ่นแมร์โลต์ (Merlot) เป็นหลักในการทำไวน์ อยู่ห่างจากตัวเมืองบอร์กโดซ์ ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือราว 35 กิโลเมตร ขณะที่ “ฝั่งซ้าย” (Left Bank) ใช้องุ่นกาแบร์เนต์ โซวีญยอง (Cabernet Sauvignon) เป็นหลักประกอบด้วยตำบลสำคัญ ๆ เช่น ปูญาค (Pauillac) แซงต์ เตสเตฟ (St Estèphe) แซงต์ ฌูเลียง (St Julien) และมาร์โกซ์ (Margaux)
เหนือสิ่งอื่นใดไวน์ของ St.-Emilion มีการจัดเกรดของตัวเองเรียกว่า แซง – เตมิยอง คลาสสิฟิเคชั่น (St.-Emilion Classification) จัดครั้งแรกในปี 1955 และมีการปรับเกดทุก ๆ 10 ปี ไม่นำไปรวมกับ Bordeaux Classification 1855 ซึ่งไม่มีการปรับใหม่เลย (ยกเว้นปี 1973 ที่ชาโต มูตอง ร็อธชิลด์ ได้เลื่อนชั้น) นอกจากนั้นไวน์ St.-Emilion ยังต้องผ่านการตรวจสอบโดยฌูราด (Jurade) หรือคณะกรรมการตรวจคุณภาพองุ่นที่มีการแต่งตั้งมาตั้งแต่ปี 1199
St.-Emilion Classification แบ่งไวน์เป็น 3 ระดับจากสูงไปหาต่ำ คือ เปรอะมิเยร์ กรองด์ ครูส์ คลาสเซ (Premiér Grand Crus Classés) แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ A และ B รองลงไปเป็น กรองด์ ครูส์ คลาสเซ (Grand Crus Classés) และสุดท้ายกรองด์ ครูส์ (Grand Crus)
สำหรับ St.-Emilion Classification 2012 มีไวน์ 96 ชาโตส่งเข้าประกวด แต่มี 1 ชาโตที่ไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาตั้งแต่รอบแรก ที่เหลือปรากฏว่า 83 ชาโตผ่านฉลุย ขณะที่อีก 12 ชาโตอกหักต้องกลับไปพัฒนาคุณภาพไวน์ของตนเองใหม่ เพื่อรอบัญชีรอบใหม่ในอีก10 ปีข้างหน้า
ที่ผ่านมา Premiér Grand Crus Classés กลุ่ม A จะมี 2 ตัวที่ครองบัลลังก์อยู่อย่างเหนียวแน่นคือชาโต เชอวาล บลัง (Chateau Cheval Blanc) และชาโต โอโซน (Chateau Ausone) แต่แล้วเมื่อมีการประกาศบัญชี St.-Emilion Classification 2012 ออกมาหลายคนช็อก ขณะที่หลายคนแสดงความยิน เพราะมี 2 น้องใหม่ขึ้นมาร่วมด้วยคือ ชาโต ปาวี (Chateau Pavie)และชาโต อังเฌลุส (Chateau Angelus) รวมเป็น 4 ตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 50 ปี
Chateau Angelus เดิมชื่อ Château L’Angélus หรือเรียกสั้น ๆ ว่า L’Angélus เจ้าของคือ Hubert de Bouard นั้นหลงเสน่ห์เมืองไทยมาก เดินทางมาเมืองไทยเป็นว่าเล่น เพราะมีลูกสาว Stéphanie de Bouard-Rivoal แบ่งเบาภาระในกิจการของครอบครัวไปได้เยอะ ที่สำคัญและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่คือมีการดึง มิเชล โรล์รองด์ (Michel Rolland) ไวน์เมกเกอร์ “มือปืนรับจ้าง” มาเป็นที่ปรึกษาในการผลิตไวน์ โดยสูตรสำเร็จของ Château Angelus คือ Merlot 50%,Cabernet Franc 47% และ Cabernet Sauvignon 3% บ่ม 22 เดือน ในถังโอคใหม่ 80%
Chateau Angelus ถูกซื้อมาโดย Comte Maurice de Boüard ในปี 1921 ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกองุ่น 23.4 เฮกตาร์ ปลูก Merlot 51%, Cabernet Franc 47% และ Cabernet Sauvignon 2% ขึ้นมาอยู่ Premier grand cru classé B ตั้งแต่ปี 1996 ผลผลิตประมาณ 10,000 ลังต่อปี ส่วนไวน์ฉลากสอง Carillon d’Angélus ผลิตประมาณ 1,000 ลังต่อปี ถ้าใครเคยดูหนัง James Bond ตอน Casino Royale จะเห็นพระเอก Daniel Craig ดื่มไวน์ตัวนี้
ทางด้าน Gerard Perse เจ้าของ Chateau Pavie ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของผู้คนเท่าใดนัก เพราะไม่ค่อยเปิดตัว แต่ความเป็นมาของชาโตแห่งนี้ไม่ธรรมดา เพราะเริ่มมาตั้งสมัยโรมัน เช่นเดียวกับ Chateau Ausone เปลี่ยนเจ้ามาหลายครั้ง กระทั่ง Gérard Perse มหาเศรษฐีชาวปารีส ซื้อมาในปี 1998 ด้วยมูลค่า 31 ล้านเหรียญสหรัฐ ก่อนหน้านั้นเขาซื้อ Château Monbousquet ในปี 1993 และ Château Pavie-Decesse ในปี 1997
Chateau Pavie มีพื้นที่ปลูกองุ่น 37 เฮกตาร์ (1 เฮกตาร์ = 6 ไร่ 1 งาน) ปลูก Merlot 60%, Cabernet Franc 30% และ Cabernet Sauvignon 10% ที่สำคัญไวน์ถูกปรุงแต่งโดย Michel Rolland เหมือนกับChateau Angelus จนน้ำเนื้อติดใจคอไวน์และได้รับคะแนนสูง ๆ จากนักชิมไวน์ชื่อดังของโลก ผลผลิตประมาณ 6,500 ลังต่อปี มีไวน์ฉลากสองชื่อ Château Tour Simard และรุ่น “Les Aromes de Pavie” ที่เริ่มผลิตในปี 2005
ขณะที่ Premiér Grand Crus Classés กลุ่ม B มี 12 ตัว มีน้องใหม่ 4 ตัวคือชาโต กานอง ลา กาฟเฟอลิเยร์ (Canon La Gaffelière) ชาโต ลา มองโดต์ (Chateau La Mondotte) ชาโต วาลังโดด์ (ChateauValandraud) และชาโต ลาร์ซิส์ ดูกาสเซ(Château Larcis Ducasse)
ส่วน Grand Cru Classé มีไวน์ที่เลื่อนจาก Grand Cru ธรรมดาขึ้นมา เช่น ChateauxLa Fleur Morange,Chateau Fombrauge, Chateau de Ferrand, Chateau Faugeres และ ChateauPeby-Faugeresโดย 2 ตัวหลังสุดเพิ่งมีการจัดมาสเตอร์ คลาสและไวน์ดินเนอร์ในเมืองไทยเมื่อ 3-4 เดือนที่ผ่านมา
บัญชี St Emilion Classification 2012 ทั้งหมดมีดังนี้ (ตัวหนาคือไวน์ที่ได้รับการปรับชั้นขึ้นมาใหม่)
Château VALANDRAUD +
Château TROPLONG-MONDOT =
Château CANON =
Château PAVIE-MACQUIN =
Château LA GAFFELIÈRE =
Château BEAU-SÉJOUR BÉCOT =
Clos FOURTET =
Château CANON-LA-GAFFELIÈRE +
Château LARCIS-DUCASSE +
Château LA MONDOTTE +
Château BEAUSÉJOUR (DUFFAU-LAGARROSSE) =
Château FIGEACPremier Grand Cru Classé A
Château Cheval Blanc
Château Pavie
Château Angelus
Château Ausone
Premier Grand Cru Classé B Château VALANDRAUD +
Château TROPLONG-MONDOT =
Château CANON =
Château PAVIE-MACQUIN =
Château LA GAFFELIÈRE =
Château BEAU-SÉJOUR BÉCOT =
Clos FOURTET =
Château CANON-LA-GAFFELIÈRE +
Château LARCIS-DUCASSE +
Château LA MONDOTTE +
Château BEAUSÉJOUR (DUFFAU-LAGARROSSE) =
Château FIGEAC =
Château Beauséjour (héritiers Duffau-Lagarrosse)
Château Beau-Séjour-Bécot
Château Bélair-Monange
Château Canon
Château Canon la Gaffelière
Château Figeac
Clos Fourtet
Château la Gaffelière
Château Larcis Ducasse
La Mondotte
Château Pavie Macquin
Château Troplong Mondot
Château Trottevieille
Château Valandraud
ผู้เขียน: ธวัชชัย เทพพิทักษ์
ที่มา: http://www.sereechai.com