“ไวน์ไทย” ด้วยสายพระเนตรที่กว้างไกลของ รัชกาลที่ 9

1335683546 “ปี พ.ศ.2535 รัฐบาลไทย สมัยนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี ออกกฎหมายอนุญาตให้ประชาชนผลิตไวน์ได้”… ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิตไวน์ไทยจากองุ่นเหมือนในต่างประเทศที่ผลิตไวน์กัน
อย่างไรก็ตามจุดเริ่มต้นจริง ๆ เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2536 ไวเนอรี (Winery) แห่งแรกได้เกิดขึ้นที่ อ.ภูเรือ จ.เลย ภายใต้ชื่อ ชาโต เดอ เลย (Chateau de Loei) โดย นพ.ชัยยุทธ กรรณสูตร (เสียชีวิตเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2547) ตอนนั้นมีผู้ยื่นเรื่อง 8 ราย
เรื่องนี้มีหลักฐานยืนยันจากหนังสือ The Sotheby’s Wine Encyclopedia ของทอม สตีเฟนสัน (Tom Stevenson) พิมพ์ครั้งที่ 4 และได้รับการยกย่องว่าเป็น “ไบเบิ้ลของไวน์” ระบุว่า…..”..ปี 1992 รัฐบาลไทย ออกกฎหมายอนุญาตให้ประชาชนผลิตไวน์ได้ ภายใต้ข้อกำหนดที่กำหนดไว้ จากนั้นปีรุ่งขึ้นไวเนอรีแห่งแรกจึงเกิดขึ้นที่ อ.ภูเรือ จ.เลย ภายใต้ชื่อ ชาโต เดอ เลย โดย นพ.ชัยยุทธ กรรณสูตร…” เป็นต้น
แต่มีคนไทยไม่มากที่จะรู้ว่า ไวน์ไทยเกิดขึ้นด้วยสายพระเนตรที่กว้างไกลของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 “กษัตริย์เกษตร” ของปวงชนชาวไทย โดยเมื่อประมาณ 20 กว่าปีที่แล้ว พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้เชี่ยวชาญศึกษาองุ่นประมาณ 40 พันธุ์จากประเทศต่าง ๆ เช่น ออสเตรเลีย เยอรมันและสหรัฐอเมริกา ฯลฯ ตามโครงการหลวง เพื่อหาว่าองุ่นพันธุ์ใดบ้างที่จะเหมาะกับสภาพดินฟ้าอากาศของประเทศไทย
ในหนังสือ The Sotheby’s Wine Encyclopedia ดังกล่าวระบุว่าบริษัท สยาม ไวน์เนอรี (Siam Winery) เริ่มผลิตไวน์ครั้งแรกในปี 1997 เจ้าของคือตระกูล”อยู่วิทยา” ผลิตไวน์ภายใต้ชื่อ “ชาตอง” (Chatemp) ต่อมาจึงพัฒนาเป็นยี่ห้อ “มอนซูน” (Monsoon) จากไร่องุ่นลอยน้ำ (Floating Vineyards) บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดสมุทรสาคร จริงๆ แล้วไร่องุ่นไม่ได้ลอยน้ำ แต่เป็นการปลูกบนคูหรือคันดินยกสูง ข้างๆ ล้อมรอบด้วยน้ำ ฝรั่งเรียกว่า Floating Vineyards
สำหรับสยามไวน์เนอรีนั้นหนังสือ Asian Brand Strategy โดยมาร์ติน โรลล์ (Martin Roll) ได้ยกย่องให้เป็นแบรนด์หรือยี่ห้อที่ทรงอิทธิพลแห่งเอเชีย หมายความว่ามีศักยภาพที่จะแข่งขันระดับโลกได้ การจะได้ตำแหน่งนี้มาไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ต้องพิสูจน์และแสดงฝีมือในด้านต่าง ๆ
Colombard4

HK2

zine3

มอนซูน แวลลีย์

มอนซูน

แม่จัน

ไร่องุ่นวิลเลจ ฟาร์ม

ไวน์ขาวชาโต เดอ เลย

หนึ่งในไวน์พีบี แวลลีย์

196b

กรานมอนเต

กษัตริย์เกษตรของปวงชนชาวไทย

AW-LF 04

ซิลเวอร์เลค

แผนที่ผู้ผลิตไวน์ไทย

พีบี วัลลีย์ เขาใหญ่ไวเนอรี

พีบี แวลลีย์นอกจากนั้นหนังสือ The Sotheby’s Wine Encyclopedia ยังระบุว่าพื้นที่บริเวณเขาใหญ่ซึ่งห่างจากกรุงเทพฯไปทางเหนือประมาณ 175 กม.หรือประมาณ 109 ไมล์ กำลังเป็นพื้นที่ยอดนิยมที่สุดของการปลูกองุ่นทำไวน์ มีไวเนอรีสำคัญ เช่น พีบี แวลลีย์ เขาใหญ่ ไวน์เนอรรี (PB Valley Kaoyai Winery),กราน มอนเต (GranMonte) และวิลเลจ ฟาร์ม แอนด์ ไวเนอรี (Village Farm& Winery) เป็นต้น
“วิเน็กซ์โป 2005” (Vinexpo 2005) ครั้งที่ 13 นับเป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของวงการไวน์ไทย เพราะเป็นครั้งแรกที่ไวน์ไทยมีโอกาสไปให้ชาวต่างชาติสัมผัสกับรสชาติ 4 รายคือ มอนซูน แวลลีย์ (Monsoon Valley),พีบี แวลลีย์ เขาใหญ่ ไวเนอรี (PB Valley Kao Yai Winery),ชาโต เดอ เลย (Chateau de Loei) และวิลเลจ ฟาร์ม แอนด์ ไวเนอรี (Village Farm & Winery) ได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก
ขณะที่ไวน์ “ชาโต เดอ เลย” (Chateau de Loei) ถูกแนะนำตัวให้ต่างชาติรู้จักครั้งแรก ในการประชุมร่วมเอเชีย-ยุโรป (ASEM) เมื่อปี พ.ศ.2539 หลังจากนั้นก็เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก เมื่อนิตยสาร ไวน์สเปกเตเตอร์ (Wine Spectator) ซึ่งเป็นนิตยสารไวน์ทรงอิทธิพลฉบับหนึ่งของวงการไวน์โลก ได้ลงเรื่องราวของ Chateau de Loei ให้แวดวงไวน์โลกได้รู้จัก
วันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2006 รัฐบาลฝรั่งเศสให้การรับรองการผลิตไวน์ของบริษัทในมาตรฐานของเอโอซี (AOC) ทำให้ได้เข้าไปเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย คุ้มครองเรื่องผลประโยชน์ หรือจีไอ (GI) นอกจากนี้บริษัทได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์กับกรมทรัพย์สินทางปัญญาของไทย เป็น ”แพลโต เดอ ภูเรือ” (Plateau de Phurau) ขณะที่กรมสินทรัพย์ทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ได้มอบใบทะเบียนคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ให้ไวน์ Chateau de Loei เมื่อ พ.ศ. 2549 เป็นไวน์ไทยเจ้าและเจ้าเดียวเท่านั้น
จีไอ (GI) มาจากคำว่า Geographical Indications คือมาตรการคุ้มครองหรือเป็นสิทธิประเภทหนึ่งในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้ากำหนดขึ้นมาเพื่อปกป้องคุ้มครองชื่อเสียงและคุณภาพของสินค้า (โดยเฉพาะสินค้าเกษตรได้แก่ไวน์และสุรา) ไม่ให้ถูกแอบอ้างชื่อ ลอกเลียนแบบ อันจะทำให้ผู้บริโภคหลงเข้าใจผิดในแหล่งที่มา และส่งผลกระทบต่อสินค้าตัวจริง
หลังจากนั้นจึงมีการก่อตั้ง สมาคมผู้ผลิตไวน์ไทย(Thai Wine Association หรือ TWA) ในปี พ.ศ.2547 หรือ 10 ปี หลังจากที่องุ่นทำไวน์ต้นแรกถูกปลูกในเมืองไทย สมาชิกก่อตั้งในครั้งนั้นประกอบด้วย 6 ราย (ลำดับที่ 1-6) และมีสมาชิกเข้ามาเพิ่มอีก 2 ราย (ลำดับที่ 7-8)
1.ชาโต เดอ เลย (Chateau de Loei) ผลิตทั้งไวน์ขาว ไวน์แดง ไวน์โรเซ สปาร์คกลิ้งไวน์ ไวน์หวาน ฟอร์ติไฟด์ ไวน์ และบรั่นดี
2.พีบี แวลลีย์ เขาใหญ่ ไวเนอรี (PB Valley Khao Yai Winery)
ก่อตั้งเมื่อปี 1989 เป็นรายที่สองที่ผลิตไวน์อย่างเป็นทางการต่อจากชาโต เดอ เลย อยู่ที่ ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ณ เวลานั้นเป็นไวเนอรีแห่งเดียวที่มีไวน์เมกเกอร์เป็นของตนเองและเป็นคนไทย ปัจจุบันผลิตไวน์ขาว ไวน์แดง และโรเซ จากหลายพันธุ์องุ่นและหลายรุ่น นอกจากนั้นยังมีบรั่นดีด้วย ฯลฯ
3.ชาละวัน (Shala One) อยู่ที่ ต.วังงิ้ว กิ่ง อ.ดงเจริญ จ.พิจิตร ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 200 ม. ผลิตไวน์แดงเป็นหลัก ปัจจุบันยุติการผลิต
4.กราน มอนเต (Gran Monte) อยู่ที่ ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ผลิตไวน์แดงและไวน์ขาวเป็นหลัก เจ้าของคือนายวิสุทธิ์ โลหิตนาวี ประธานสมาคมผู้ผลิตไวน์ไทยคนแรก
5.วิลเลจ ฟาร์ม & ไวเนอรี (Village Farm & Winery) อยู่ที่ ต.ไทยสามัคคี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ผลิตไวน์ขาว แดง และโรเซ โดยไวน์แดงพรีเมียมใช้ชื่อว่า ชาโต เดส์ บรูมส์ (Chateau des Brumes) รุ่น La Fluer ทำสถิติเป็นไวน์ไทยราคาแพงที่สุด เปิดตัวราคา 3,000 กว่าบาท
6.สยาม ไวเนอรี (Siam Winery) ณ เวลานั้นเป็นผู้ผลิตไวน์ไทยรายเดียวที่ใช้องุ่นบริโภคกับองุ่นที่ใช้ทำไวน์ ผสมผสานกัน อยู่ที่ ต.บางโทรัด อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ก่อนจะทำไร่องุ่นที่หัวหิน ภายใต้ชื่อ หัวหิน ฮิลล์ วินยาร์ด (Hau Hin Hill Vineyard) ผลิตไวน์ขาว แดง และโรเซ จากองุ่นหลายพันธุ์และหลายรุ่น ปัจจุบันนำเข้าไวน์จากต่างประเทศด้วย
7.แม่จัน ไวเนอรี (Mae Chan Winery) อยู่ที่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย ผลิตไวน์ขาวและไวน์แดงภายใต้ชื่อ “ชาโต เดอ แม่จัน” (Chateau de Mae Chan) ปัจจุบันปิดกิจการไปแล้ว
8.ซิลเวอร์เลค (Silverlake) อยู่ที่ ต.นาจอมเทียน เมืองพัทยา จ.ชลบุรี เจ้าของเป็นนักธุรกิจที่ไทยที่เคยเดินทางไปทำธุรกิจในสหรัฐ มีภรรยาเป็นดาราชื่อดังคือสุพรรษา เนื่องภิรมย์ ปัจจุบันผลิตไวน์แดงจาก และไวน์ขาว พร้อมน้ำองุ่นสดและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวด้วย
ผลพวงของไวน์ไทยในวันนี้ ล้วนเกิดจากสายพระเนตรที่ยาวไกล และพระอัจฉริยภาพของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ที่ทรงงานหนักโดยตลอดเพื่อความสุขของประชาชนของพระองค์.

Thawatchai Tappitak

ธวัชชัย เทพพิทักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวน์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่าง ๆ รวมทั้งด้านอาหาร เคยเดินทางไปทำไวน์ในยุโรป 5 ปีครึ่ง จึงนำประสบการณ์ด้านดังกล่าวมาถ่ายทอดสู่แวดวงที่เกี่ยวข้อง นานกว่า 20 ปี เป็นกรรมการตัดสินไวน์ บาร์เทนเดอร์ ฯลฯ ปัจจุบันเป็นคอลัมนิสต์ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และนิตยสาร เช่น Thailand Restaurant News,GQ,Gastrogsm ฯลฯ นอกจากนั้นยังสอนไวน์ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย ------------- ข้อมูลบทความ/ภาพ/วิดีโอ ในเว็บไซต์ ThatwatchaiGURU.com เป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียน การนำไปเผยแพร่ไม่ว่าในรูปแบบใดๆ (นอกจากการแชร์) ต้องได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ----------- ติดต่อ: ThawatchaiGURU@at-Bangkok.com

You may also like...