“บรูชลัดดิช” เสน่ห์ลึกล้ำแห่งบาร์เลย์

Bere Barley 2008

Bruichladdich Classic Laddie

Bruichladdich Octomore Edition 07.1

Caramelised malt & tonka bean parfait

Duck confit...

Octomore 8.3

Port Charlotte 10 กับขนมปังเข้ากันดี

Port Charlotte 10

Sitka Studio

Steamed market seabass

Steamed seabass

ขนมปังแสนอร่อย

เชฟกำลังทำเมนคอร์ส

เชฟที่ทำอาหาร

เชฟและทีมงาน

ไร่ที่ปลูก Bere Barley“บรูชลัดดิช” (Bruichladdich) แบรนด์วิสกี้จากสก๊อตแลนด์ที่มีจุดเด่นในเรื่องของการผลิตจากบาร์เลย์ ที่ปลูกในสก๊อตแลนด์ 100% โดยก่อตั้งโรงกลั่นในปี 1881 โดยพี่น้องตระกูลฮาร์วีย์ (Harvey brothers) ผลัดเปลี่ยนการครอบครองมาประมาณ 5-6 ครั้ง ท่ามกลางภาวะที่กระท่อนกระแท่นของกิจการ กระทั่งปี 2000 Murray McDavid เข้ามาซื้อกิจการด้วยมูลค่า 6.5 ล้านปอนด์ และเป็นผู้นำความรุ่งเรืองและยิ่งใหญ่ให้กับมาสู่โรงกลั่นอีกครั้ง ภายใต้การนำของพ่อค้าไวน์ Mark Reynier และ Jim McEwan ในฐานะ Master Distiller ยอดฝีมือที่เคยอยู่กับ Bowmore ถึง 37 ปี
เจ้าของคนใหม่นี้ใช้ลักษณะเฉพาะตัวของวิสกี้ ประกอบกับรูปแบบใหม่ของการบรรจุขวดและบรรจุภัณฑ์ ทำให้ Bruichladdich เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก จนเกิดไปเข้าตา Rémy Cointreau เข้ามาเป็นเจ้าของกิจการ ในปี 2012 ด้วยมูลค่า 58 ล้านปอนด์ และยังคงรักษาเครื่องไม้เครื่องมือตลอดจนอุปกรณ์การกลั่น ซึ่งบ้างอย่างมีมาตั้งแต่เริ่มเปิดโรงกลั่นในปี 1881 ไว้อย่างดีเยี่ยม
ที่สำคัญก็คือ Bruichladdich เป็นโรงกลั่นเดียวที่ใช้ข้าวบาร์เลย์จากฟาร์มเดียวหรือไร่เดียว (Single farm) ทั้งหมดในการทำวิสกี้ ซึ่งปลูกและผ่านกระบวนการทำมอลต์ (Malted) ทางตะวันออเฉียงเหนือของสก๊อตแลนด์ ขณะที่โรงกลั่นอื่น ๆ ใช้บาร์เลย์จากหลาย ๆ ฟาร์มมาผสมผสานกัน บางแห่งใช้บาร์เลย์จากต่างประเทศ นอกจากนั้นยังเป็นวิสกี้ธรรมชาติ ไม่กรองเย็น และไม่ตกแต่งสี
ผมชิม Bruichladdich ครั้งล่าสุดในการแข่งขันบาร์เทนเดอร์ “ลา เมซง คอนโทร อินเตอร์เนชันแนล ไฟนอลส์ 2018” (La Maison Cointreau International Finals 2018) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อปลาย ๆ ปีที่แล้ว ซึ่ง สุชาดา โสภาจารี หรือ“ฝาเบียร์”คว้ามาได้ 1 รางวัลจากโจทย์ “Le Chocolatier Cointreau Challenge” จากค็อกเทลชื่อ “Sidecar & citrus dark chocolate bark”
ในงานดังกล่าวมีการจัดดินเนอร์มื้อพิเศษพร้อมแนะนำ “Bruichladdich” รุ่นต่าง ๆ พร้อมเมนูที่จับคู่กันที่ร้านอาหาร Sitka Studio ร้านอาหารนานาชาติชื่อดังของกัวลาลัมเปอร์ ลองดูว่ามีอะไรบ้าง
บรูชลัดดิช คลาสสิค แลดดี พอร์ต ชาร์ลอตต์ 10 (Bruichladdich Classic Laddie Port Charlotte 10) : เป็นรุ่นที่บ่มในถังโอคที่ผ่านการบ่ม 4 ชนิดคือเบอร์เบิน (Bourbon),แชร์รี (Sherry) ซึ่งเป็นฟอร์ติไฟด์ ไวน์ของสเปน,ถังโอคที่ผ่านการบ่มไวน์แดงที่ทำจากองุ่นเตมปรานิลโย (Tempranillo) ของสเปน และถังโอคขนาดใหญ่ของฝรั่งเศส แอลกอฮอลล์ 50%…สีเหลืองเข้มออกไปทางอำพัน ดมครั้งแรกได้กลิ่นมอลต์หอมกรุ่น ตามด้วยพีท ควันไฟ เลมอน ขี้ผึ้ง ขนมปังกรอบ เนย กาแฟคั่ว ขนมเครม บรูเล ขณะอยู่ในปากและจิบเบา ๆ มีผลไม้ประเภท แบล็คเคอร์แรนท์ แบล็คเบอร์รี ลูกเกด แยมผลไม้ น้ำผึ้งกรุ่น ๆ สไปซี่เฮิร์บ เป็นความหอมหวานที่ลงตัว จบยาวด้วยโอคหอมหวาน ผลไม้ และสไปซี…เสิร์ฟเป็นรีเซฟชั่น จับคู่กับเมนคอร์สคือ Steamed market seabass,preserved citrus,black butter,hazelnuts & leek
บรูชลัดดิช เดอะ คลาสสิค แลดดี สกอตติช บาร์เลย์ วิสกี้ (Bruichladdich The Classic Laddie Scottish Barley Whisky) : ตัวนี้เดิมชื่อรุ่น Laddie Ten ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็น Classic Laddie ภายในขวดสีสดใสทำจากบาร์เลย์ที่ปลูกในสกอตแลนด์ 100 % และไม่ได้รมควัน ค่อย ๆ กลั่นด้วยน้ำ Spring Water ของ Islay แล้วบ่มในถังอเมริกันโอค แอลกอฮอล์ 50 % เป็นรุ่นคลาสสิคที่ได้รับรางวัล Malt of the Month June 2015 …ดมครั้งแรกได้กลิ่นทะเลเค็ม ๆ เลมอน วานิลลาครีม ขนมปังกรอบ ขิง ถั่ว สไปซี อบเชย เปปเปอร์ ขณะที่อยู่ในปากเลมอนยังลากยาวมาผสานกับทอฟฟี ซิททรัส ดอกไม้ ลูกเกด พีช บราวน์ชูการ์ มิเนอรัล น้ำผึ้งกรุ่น ๆ สาหร่ายทะเล และกลิ่นอายของลมทะเล จบยาวอ้อยอิ่งด้วยสไปซีกรุ่น ๆ มิเนอรัล และซิททรัส เป็น Everyday Islay whisky…เสิร์ฟกับ Duck confit & Local made comte style cheese bunwith shiitake
บรูชลัดดิช เบร์ บาร์เลย์ 2008 (Bruichladdich Bere Barley 2008) : ทำจากบาร์เลย์สายพันธุ์โบราณที่มีชื่อว่า Bere Barley และปลูกแบบโลว์ ยีลด์ (Loe Yield) คือเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ ทำให้รุ่นนี้เพิ่งถูกผลิตออกสู่ท้องตลาดเป็นครั้งที่ 2 กลั่นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2008 ตามวินเทจที่ระบุข้างขวดนั่นเอง…ดมครั้งแรกได้กลิ่นดอกไม้สีขาว โดยเฉพาะดอกมะลิ และกุหลาบ น้ำผึ้ง ขิง มะพร้าว วานิลลา ขนมตาร์ต โอคกรุ่น ๆ ขณะที่ฟรุตตี้มี ซีทรัส แบล็คเคอร์แรนท์ เมลอน พีช และส้มจีน ขณะที่อยู่ในปากจะมีน้ำตาลทรายแดง คาราเมล ชอดโกแลตนม วานิลลา เปลือกเลมอน ขนมปังกรอบ และกลิ่นอายของทะเลกรุ่น ๆ ไอโอดีน สาหร่ายทะเล จบยาวด้วยความสดชื่น พร้อมพีท มอลต์ สไปซี่ แบล็คเปปเปอร์….จับคู่กับ Light smoked chicken glazed in white miso.charred kalian,kombu vinaigrette
บรูชลัดดิช อ๊อชโตมอร์ อีดิชชั่น 8.3 (Bruichladdich Octomore Edition 8.3) : รุ่นนี้เป็นวินเทจ 2011 ทำจากบาร์เลย์ไร่เดียวที่ปลูกในไอส์ลา ไม่มีการใช้บาร์เลย์จากไร่อื่นมาผสมด้วย บ่ม 5 ปี โดย 65% บ่มในถังที่ผ่านการบ่มเบอร์เบินเป็นครั้งแรก ที่เหลือบ่มในถังโอคที่ผ่านการบ่มไวน์ 4 พื้นที่ของฝรั่งเศสคือ ปูลญาค (Paulliac),ฟองตูซ์ (Ventoux),แคว้นโฮรน (Rhone) และแคว้นเบอร์กันดี (Burgundy) ไม่ธรรมดาเลยสำหรับตัวนี้ เป็นรุ่นที่ผู้เชี่ยวชาญวิสกี้บอกว่า Octomore 8.3 เป็น 1 ในวิสกี้ของ Bruichladdich ที่“super heavily peated” คือกลิ่นพีทจัดจ้านมาก…ดมครั้งแรกได้กลิ่นอบเชย ยีสต์ขนมปัง ควันไฟ มอลต์ กลิ่นอายของทะเล เบอร์รี เชอร์รี และหนังสัตว์ย่างไฟ ขณะที่อยู่ในปากมี ดาร์ก ชอกโกแลต เชอร์รี พีช ลูกเกด น้ำตาลทรายแดง โอคหอมหวาน กาแฟคั่ว จบยาวด้วยเอสเปรสโซ ยาสูบ วานิลลา สไปซี เฮิร์บ…..เสิร์ฟกับของหวาน Caramelised malt & tonka bean parfait,Octomore 8.3 whisky salted toffee
แถมด้วยรุ่นที่ผมเคยชิมในเมืองไทยก่อนหน้านั้น บรูชลัดดิช อ๊อชโตมอร์ อีดิชชั่น : 07.1 / 208 (Bruichladdich Octomore Edition 07.1 / 208) : เป็นรุ่นที่บ่ม 5 ปีในถังอเมริกันโอค และเป็นวิสกี้สไตล์ Super heavily peated เช่นกันผสานกันควันไฟกรุ่น ๆ เพราะเป็นที่รมควันมากที่สุดจนได้น้ำหนัก 208 PPM แอลกอฮอล์ 59.5 % บรรจุขวดทรงสูง สีดำด้าน พร้อมคอขวดและตัวอักษร Octomore สีเงิน
ดมครั้งแรกได้กลิ่นคล้าย ๆ ฟางข้าวถูกเผา หญ้าแห้งชื้น ๆ ผลไม้เปรี้ยว ๆ คลอรีน บัลซามิก ยางสน สไปซี จันทน์เทศ ถ่านไม้ ยางพารา หนังสัตว์ ขณะที่อยู่ในปากมีความหวานเข้ามาช่วยให้เนียนจนแทบไม่รู้ว่าแอลกอฮอล์ 59.5 % บราวน์ชูการ์ มิเนอรัล ทอฟฟี่นม อบเชย กานพลู พริกแห้ง อัลมอนด์ แอปเปิ้ลอบสุก ๆ ขนมบ้าบิ่น ไลม์ ควันไฟ จบยาวด้วยควันไฟหอม ๆ คล้าย ๆ ย่างเนื้อ มิเมอรัล ผลไม้เขียว ๆ
บรูชลัดดิช
พอร์ต ชาร์ล็อต สกอททิช บาร์เลย์ เฮฟวีลีย์ พีทเทต ไอส์เลย์ ซิงเกิ้ล มอลต์ (Bruichladdich Port Charlotte Scottish Barley Heavily Peated Islay Single Malt) : รุ่นนี้รมควันพีทที่ระดับ 40 PPM บ่มในถังไม้ที่เคยบ่มเบอร์เบิร์น (Bourbon casks) และถังโอคที่เคยบ่มชาโต ดีเคม (Chateau d’Yquem) ไวน์หวานจากฝรั่งเศสที่ได้ชื่อว่าเป็นไวน์หวานที่แพงติดอันดับต้น ๆ ของโลก ทำให้ได้วิสกี้ที่มีความนุ่มนวลเนียนหอมหวาน แอลกอฮอล์ 50% เป็นรุ่นที่แสดงความเป็นตัวตนของวิสกี้แห่งเกาะไอส์ลา (Islay) ได้อย่างชัดเจน
ดมครั้งแรกได้กลิ่นสดชื่นและเขียว ๆ ของกิ่งไม้ สาหร่ายทะเล ผักสด ไอโอดีน วานิลลา ควันไฟอบอวล ผงฝุ่นของถ่านหิน แอปเปิ้ล แพร์ เปลือกมะละกอ และเมนธอลกรุ่น ๆ ขณะอยู่ในปากกลิ่นควันไฟก็ยังค่อนข้างแรง เปลือกมะนาวเหลืองแห้ง ๆ ใบไม้ ถ่านไม้ กรีนแอปเปิ้ล แพร์ บัตเตอร์ สไปซีแบล็คเปปเปอร์ค่อนข้างโดดเด่น หินชนวน มิเนอรัล และใบเฟิร์นเขียว ๆ จบยาวด้วยควันไฟคล้ายย่างเบคอน ผลไม้สุกหอมหวาน ใบไม้เขียว ๆ ถ่านไม้ และชอกโกแลต
“บรูชลัดดิช” ที่เขาบอกว่าเป็น “Progressive Hebridean Distillers” เป็นหน้าที่ของท่านที่ต้องค้นหา…!!!

Thawatchai Tappitak

ธวัชชัย เทพพิทักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวน์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่าง ๆ รวมทั้งด้านอาหาร เคยเดินทางไปทำไวน์ในยุโรป 5 ปีครึ่ง จึงนำประสบการณ์ด้านดังกล่าวมาถ่ายทอดสู่แวดวงที่เกี่ยวข้อง นานกว่า 20 ปี เป็นกรรมการตัดสินไวน์ บาร์เทนเดอร์ ฯลฯ ปัจจุบันเป็นคอลัมนิสต์ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และนิตยสาร เช่น Thailand Restaurant News,GQ,Gastrogsm ฯลฯ นอกจากนั้นยังสอนไวน์ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย ------------- ข้อมูลบทความ/ภาพ/วิดีโอ ในเว็บไซต์ ThatwatchaiGURU.com เป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียน การนำไปเผยแพร่ไม่ว่าในรูปแบบใดๆ (นอกจากการแชร์) ต้องได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ----------- ติดต่อ: ThawatchaiGURU@at-Bangkok.com

You may also like...