Category: Old World

sound-of-music

ไวน์ออสเตรีย ท่วงทำนอง“The Sound of Music”

… ประเทศ “ออสเตรีย” (Austria) สำหรับคนไทยวัยอย่างน้อยเลข 6 ต้องรู้จัก “The Sound of Music” หรือ “มนต์รักเพลงสวรรค์” ภาพยนตร์เพลงคลาสสิกระดับโลกจากฮอลลีวู้ด แต่มาถ่ายทำกันที่เมืองซัลบวร์ก (Salzburg) ของออสเตรีย หลังดูหนังเรื่องนี้จบ ทัวร์ไปซัลบวร์กขายดิบขายดี การท่องเที่ยวออสเตรียเฟื่องฟู วันที่ 2 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมาครบรอบ 57 ปีของ The Sound of Music ขณะที่ คริสโตเฟอร์ พลัมเมอร์...

6

“บัว น๊อยเตอะ ลิสบัว” ราตรีแห่งลิสบอน

…. โปรตุเกส (Portugal) เป็นประเทศที่บริโภคไวน์มากที่สุดประเทศหนึ่ง ด้วยจำนวนประชากรเพียงแค่ 10 ล้านคน เมื่อเทียบปริมาณการบริโภคไวน์ต่อหัวแล้ว ชาวโปรตุเกสบริโภคไวน์มากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากชาวฝรั่งเศส ไวน์เคียงคู่กับสังคมโปรตุเกสมานานตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน และเปรียบเสมือนเลือดที่อยู่ในร่างกายของชาวโปรตุเกส แน่นอนการทำไวน์ย่อมอยู่ในสายเลือด หนึ่งในนั้นคือ “วีดีกัล ไวน์ เอส เอ” (Vidigal Wines S.A.) “วีดีกัล ไวน์ เอส เอ” เป็นบริษัทผู้ผลิตไวน์ขนาดกลางผลิตไวน์โดยครอบครัว ตั้งอยู่ใกล้ ๆ เมืองไลรีอา (Leiria) ในเขตผลิตไวน์ลิสบัว (Vinho...

Chateau Pichon1

“ชาโต ปิชอง บาฮรอง” หยาดหยดแห่งประวัติศาสตร์

“ชาโต ปิชอง – ลองกือวิลล์ บาฮรอง” (Chateau Pichon – Longueville Baron) มีชื่อเต็ม ๆ ว่า “ชาโต ลองกือวิลล์ อู บาฮรอง เดอ ปีชอง ลองกือวิลล์” (Château Longueville au Baron de Pichon-Longueville) เรียกสั้น ๆ ว่า “ชาโต ปีชอง บาฮรอง” เป็น 1...

ในห้องทำงาน

อเลฆานโดร แฟร์นานเดซ “ราชาแห่งเตมปรานีโญ”

… วันที่ 22 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมามีข่าวเล็ก ๆ แต่เป็นข่าวใหญ่ในแวดวงไวน์ เขตริเบรา เดล ดูเอโร (Ribera del Duero) และทั่วประเทศสเปน นั่นคือการเสียชีวิตด้วยวัย 88 ปีของ “อเลฆานโดร แฟร์นานเดซ” (Alejandro Fernandez) เจ้าของไวน์ชื่อดัง “เปสกูเอรา” (Pesquera) หรือ “ตินโต เปสกูเอรา” (Tinto Pesquera) “อเลฆานโดร แฟร์นานเดซ” นั้นได้ชื่อว่าผู้ปฏิวัติการทำไวน์ในเขตริเบรา เดล...

เซลลาร์บ่มไวน์

“ออร์เนลลายา” 4 วินเทจยอดเยี่ยมล่าสุด

ออร์เนลลายา (Ornellaia) เป็นไวน์ขบถซึ่งปัจจุบันเรียกว่า “ซูปเปอร์ ทัสคัน” (Super Tuscan) ที่หลายคนชื่นชอบ โดยมีตัวแม่ร่วมชายคาอย่าง มาสเซโต ( Masseto) ในนามของบริษัท เตนูตา เดล ลอร์เนลลายา (Tenuta dell’Ornellaia) Tenuta dell’Ornellaia ก่อตั้งในปี 1981 โดย มาร์เคเซ โลโดวิโก อันติโนริ (Marchese Lodovico Antinori) ณ เมืองโบลเกรี (Bolgheri) ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของฟลอเรนซ์ (Florence)...

บรรจุลังไม้

“ชาโต เดอ ปัวตีฮรง” ไวน์ฝรั่งเศสที่ทำสถิติในเมืองไทย

“บอร์กโดซ์ หรือ บอร์โดซ์” (Bordeaux) ชื่อนี้มีมนต์ขลังและสะกดผู้คนทั่วโลกในฐานะ “เมกกะแห่งการทำไวน์” ผู้ที่อยู่ในแวดวงไวน์จะต้องหาโอกาสไปเยือนเมืองในนี้สักครั้งในชีวิต ขณะที่ชาวไทยที่ดื่มไวน์ในจำนวนไวน์ฝรั่งเศสด้วยกัน แน่นอนไวน์บอกโดซ์มาอันดับแรก บอร์กโดซ์ มีถิ่นไวน์ที่ถูกคณะกรมการ INAO (Institute National des Appellations d’Origine des Vins et Eaux-de-Vie) ผู้ดูแลคุณภาพไวน์ กำหนดพื้นที่เป็นเกรดระดับเอโอซี (AOC = Appellation d’Origine Contrôlée) กว่า 50 เอโอซี ทั้งหมดกระจายอยู่ใน 22 อำเภอ...

ตราประจำตระกูลที่คอขวด

“ฟามีลล์ เปร์แฮรง”สุดยอดตระกูลไวน์แห่งโฮรนใต้

“โก๊ต ดู โฮรน” (Côtes-du-Rhône) หรือ “โฮรน แวลลีย์” (Rhône Valley) เป็นอีกเขตหนึ่งของฝรั่งเศสที่ผลิตไวน์คลาสสิคและมีเสน่ห์เฉพาะตัว ขณะที่บ้านเรายังผูกอยู่กับบอร์กโดซ์ และเบอร์กันดี ทำให้พลาดในการได้ชิมไวน์คลาสสิคของโก๊ต ดู โฮรน และเขตอื่น ๆ ไปอย่างน่าเสียดาย “โก๊ต ดู โฮรน” อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส พื้นที่ไล่เรียงเคียงข้างไปกับแม่น้ำโฮรน (Rhône River) เริ่มตั้งแต่ใต้เมืองดีฌง (Dijon) เรื่อยลงจนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน หรือทางใต้ของเมืองอาร์วีญยอง (Avignon) รวมระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตร (125ไมล์)...

ไวน์รุ่นต่าง ๆ

“คินตา ดา ลาปา” ศิลปินไวน์แห่งโปรตุเกส

… โปรตุเกส (Portugal) ประเทศเล็ก ๆ ในยุโรปที่กว่าประเทศไทยประมาณ 5 เท่า แต่มีความสัมพันธ์กันนับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา ชาวโปรตุเกสกลุ่มแรกเดินทางถึงประเทศไทยในปี ค.ศ. 1511 เพื่อติดต่อสัมพันธ์กันทั้งในด้านเศรษฐกิจการค้า สังคม การเมือง และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ทำให้โปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เริ่มเข้ามาติดต่อกับไทย มีการแลกเปลี่ยนการเยือนของบุคคลสำคัญระหว่างกันมาตลอด ด้วยความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกันมายาวนานกว่า 500 ปี แต่คนไทยกลับได้ลิ้มรสไวน์โปรตุเกสน้อยมาก ทั้งที่โปรตุเกสผลิตไวน์มายาวนานไม่แพ้ชาติดัง ๆ อย่าง ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี เยอรมนี ฯลฯ ปัจจุบันส่งออกไวน์และส่วนแบ่งในตลาดโลกอยู่ในอันดับ 6-7 ของโลก ไม่ธรรมดาเลย...

Amarone famiglie

“อมาโรเน” 12 ยี่ห้อที่ยังทำแบบครอบครัว

“อมาโรเน” (Amarone) เป็นหนึ่งไวน์ที่คนไทยหลายคนชื่นชอบ เพราะเป็นไวน์ดีกรีสูง หมัดหนัก เข้มข้น มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอาณาบริเวณที่เรียกว่าวัลโปลิเซลา (Valpolicello) ซึ่งอยู่ในแคว้นเวเนโต (Veneto) ทางอีสานของอิตาลี มีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะเป็นที่ตั้งของเมืองเวนิช หรือเวโรนา (Verona) ดินแดนแห่งนิยายโศกนาฏกรรม โรมิโอและจูเลียต แคว้นเวเนโตผลิตไวน์ได้เป็นอันดับ 3 ของอิตาลี รองจากอาปูเลีย (Apulia) และซิซิลี (Sicily) ประกอบด้วย 6 จังหวัดคือ เบลลูโน (Belluno) วิเซนซา (Vicenza) ปาโดเว(Padove) โรวิโก (Rovigo) เรซิอาโต...

SUL Premium 2016

“เซา มิเกล โด ซูล” ข้ามาจากดินแดนแห่งคอร์ค

“อาเลนเตโจ” (Alentejo) เป็นเขตผลิตไวน์ที่ใหญ่ที่สุดของโปรตุเกส มีคนบอกว่าไวน์จากอาเลนเตโจจะมีในบาร์และร้านอาหารในโปรตุเกสแทบทุกแห่ง เพราะเป็นไวน์ที่เหมาะสมทั้งคุณภาพและราคา ที่สำคัญหลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้คืออาเลนเตโจเป็นเขตที่ผลิตคอร์ค (Cork) ที่มีชื่อเสียงที่สุดของโปรตุเกส อาเลนเตโจ ตั้งชื่อตามแม่น้ำเตโจ (Tejo River) ที่ไหลผ่าแยกประเทศเป็นสองส่วนแล้วไปลงทะเลที่เมืองลิสบอน (Lisbon) อยู่ทางตอนใต้ของโปรตุเกส ทางตะวันตกเฉียงใต้ของภูเขาเซา มาเมดเด (São Mamede) ทิศตะวันออกติดประเทศสเปน ทิศใต้ติดกับอัลการ์ฟ (Algarve) อีกหนึ่งเขตผลิตไวน์ของโปรตุเกส ครอบคลุมพื้นที่ผลิตไวน์ 1 ใน 3 ของประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ สลับกับเนินเขาที่งดงาม ต้นมะกอก และต้นโอค...

ไวน์แดง 4 AOC

ชิม“มูตง กาเดต์” รุ่นรีเสิร์ฟ 6 ตัว

… ในเมืองไทยถ้าย้อนเวลากลับไปประมาณเกือบ ๆ 30 กว่าปีที่แล้ว “มูตง กาเดต์” (Mouton Cadet) ถือว่าเป็นไวน์ฝรั่งเศสที่คอไวน์เมืองไทยต้องลิ้มลอง ที่สำคัญก็คือเป็น “ไวน์ครู” ของหลาย ๆ คนที่ใช้ศึกษา เรียนรู้และทำความรู้จักกับไวน์ฝรั่งเศส เนื่องจากราคาไม่แพง แต่ได้ความเป็นฝรั่งเศสครบถ้วน เจ้าของมูตง กาเดต์คือ บริษัท บาฮรอง ฟิลิป เดอ ร็อธส์ไชลด์ จำกัด (BPDR) แบ่งสายการไวน์เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มชาโตไวน์ (Chateaux...

55

“บริเดา”ดื่มด่ำประวัติศาสตร์โปรตุเกส

“โปรตุเกส” เป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขาย เผยแพร่ศาสนา ช่วยราชการและเจริญสัมพันธไมตรีกับไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2054 ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 โดยอัลฟองชู เด อัลบูเกร์กี (Alfonso de Albuquerque) อุปราชโปรตุเกสประจำภาคอินเดียตะวันออก ได้ส่งฑูตคนแรก คือ ดูอาร์ต แฟร์แนนดีส (Duarte Fernandes) เข้ามายังกรุงศรีอยุธยา เพื่อศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียม ประเพณี รวมทั้งสำรวจด้านการค้ากับกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2087 (ค.ศ.1544) อันตูเนียว เด ไปวา (Antonio...

por

“วาลดูเอโร” กรองด์ ครูแห่งสเปน

ในอดีตที่ผ่านมาตลาดไวน์สเปนในเมืองไทยถือว่าเล็กมาก ทั้งที่สเปนเป็นชาติที่ผลิตไวน์ได้ยอดเยี่ยมไม่แพ้ชาติโลกเก่าด้วยกันอย่าง ฝรั่งเศส และอิตาลี สาเหตุสำคัญไม่มีอะไรมาก เพราะคนไทยยังยึดติดกับคำว่าฝรั่งเศสต้องดีที่สุด ก็เลยพลาดการได้ลิ้มรสไวน์ดี ๆ จากแดนกระทิงดุ ช่วงแรกดังกล่าวไวน์สเปนที่ถูกนำเข้ามามากที่สุดคือเขตริโอฆา (Rioja) ทางด้านเหนือของสเปน เพราะถ้าผิดไปจากเขตนี้คนไทยไม่ซื้อ ก็เป็นการยึดติดอีกอย่างหนึ่ง ไวน์แดงริโอฆาส่วนใหญ่ทำจากองุ่นเตมปรานิลโย (Tempranillo) ในช่วงหลัง 3-4 ปีที่ผ่านมาจึงมีการนำเข้าไวน์สเปนจากเขตอื่นมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งริเบรา เดล ดูเอโร (Ribera del Duero) และโตโร (Toro) ซึ่งเป็นเขตที่ทำไวน์หนักแน่นถูกนิสัยของคนไทย โดยทั้ง 2 เขตก็มีองุ่นหลักเป็นเตมปรานิลโย เช่นเดียวกับริโอฆา แต่เรียกชื่อต่างกัน ที่สำคัญบุคลิกหรือแคแลคเตอร์ของไวน์จะต่างกับริโอฆา...

Sassicaia 2015a

“ซาสซิกายา” ไวน์ดินเนอร์ก่อนโควิด-19 บุก

ในอดีตคนอิตาลีผลิตไวน์จากองุ่นพันธุ์พื้นเมืองเป็นหลัก ที่ดัง ๆ เช่น ซานโจเวเซ (Sangiovese) องุ่นประจำแคว้นทัสกานี (Tuscany) และบรูเนลโล (Brunello) องุ่นเครือญาติของซานโจเวเซ และเนบบิโอโล (Nebbiolo) องุ่นคู่บารมีของแคว้นเพียดมอนต์ (Piedmont) เป็นต้น ถ้าจะใช้พันธุ์ต่างชาติผสมก็เพียงเล็กน้อย ต่อมามีผู้ผลิตรุ่นใหม่ ๆ ที่นำองุ่นจากฝรั่งเศสมาปลูกและผลิตเป็นไวน์มากขึ้น ตอนแรกถูกประนามว่า “แหกคอก” แต่เมื่อทำไวน์แล้วคุณภาพยอดเยี่ยม ขายดิบขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ขึ้นชั้นเทียบเท่าไวน์ชั้นนำของโลก คำว่าแหกคอกก็กลายเป็น “คิดนอกกรอบ” จากนั้นจึงมีผู้ผลิตไวน์สไตล์นี้ออกมาอย่างมากมาย หนึ่งในจำนวนนั้นคือ “ซาสซิกายา” (Sassicaia) ของบริษัท เตนูตา ซาน...

Aszú 6 Puttonyos

โตกาย “The Wine of Kings,The King of Wines”

“ฮังการี” (Republic of Hungary) เป็นหนึ่งในชาติผลิตไวน์เก่าแก่ในยุโรป ผลิตไวน์มาตั้งแต่สมัยโรมัน เป็นวัฒนธรรมที่ผสมผสานกันระหว่างสลาฟ (Slavs) และเยอรมัน (Germanic) ไวน์ที่สร้างชื่อให้กับฮังการีและคอไวน์ทั่วโลกโหยหาคือ ไวน์ขาวหวานที่ชื่อโตกาย (Tokaj) หรือโตกาจิ (Tokaji) ในยุโรปมีเพียง 2 ชาติเท่านั้นที่มีคำไวน์เป็นของตนเอง โดยไม่ต้องแปลงมาจากละติน นั่นคือ กรีซ และฮังการี โดยชาวฮังกาเรียนโบราณใช้ตัวอักษรรุนิก (Runic) ที่แปลงมาจากภาษาเตอร์กิช (Turkic) ซึ่งชนเผ่ามาญาร์ (Magyars) ชนพื้นเมืองของฮังการีติดต่อค้าขายด้วยในอดีต ในภาษา Magyars คำว่า “โซโล” (Szolo)...