”ลีแบร ปาแตร” ไวน์แดงแพงที่สุดในโลก

ฉลากของ Liber Pater

ฉลาก Liber Pater แต่ละวินเทจจะต่างกัน

Loïc Pasquet

การคัดเลือกผลองุ่น-747x1024

Loïc Pasquet ไถพรวนดินด้วยตัวเอง

Liber Pater 2009

Liber Pater 2010

Liber Pater เทพเจ้าแห่งไวน์

Liber Pater วินเทจต่าง ๆ

Liber Pater 2015 “I don’t set the price, the market does,
That’s what you get with only 500 bottles produced.”
ลูอิก ปาสเกต์ (Loïc Pasquet) เจ้าของไวน์ ”ลีแบร ปาแตร” (Liber Pater) กล่าวหลังจากที่เปิดตัววินเทจ 2015 เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา
”ลีแบร ปาแตร” (Liber Pater) กลายเป็นไวน์แดงราคาแพงที่สุดในโลก เมื่อวินเทจ 2015 เผยโฉมออกมาในราคาขวดละ 30,000 ยูโร หรือประมาณ 33,420 ดอลลาร์สหรัฐ วินเทจนี้ผลิตเพียง 550 ขวด ในจำนวนนี้ 240 ขวดจะเริ่มขายในเดือนกันยายน นี้เป็นต้นไป
Liber Pater 2015 ผลิตจากองุ่นเก่าแก่ที่เริ่มจะหายากขึ้นทุกวัน โดยที่ปลูกในเมืองบอร์กโดซ์ เช่น เปตีต ฟีดู (Petite Vidure, ตาร์นาย (Tarnay),กาสเตตส์ (Castets) และแซงต์ มาแกร (St-Macaire) พร้อมด้วยองุ่นดัง ๆ อย่างเปตีต์ แวร์กโดต์ (Petit Verdot) และมาลเบค (Malbec) หมักในไหดินอัมฟอรา (Amphora) ขนาด 250 และ 400 ลิตร มาเซอร์เรชั่น 2 เดือน ก่อนจะบ่ม 3 ปี และระบุในฉลากข้างขวดว่า “แฟง เดอ ฟรองซ์” (Vin de France) ไม่ใช่ “อาร์โอเซ/เอโอซี กราฟส์” (AOC Graves) เหมือนวินเทจก่อน เนื่องจากใช้องุ่นที่ไม่เข้ากฎตามข้อกำหนดการควบคุมคุณภาพไวน์ของบอร์กโดซ์
Liber Pater วินเทจ 2015 นับเป็นวินเทจที่ 6 ที่ผ่านมาคือ 2006, 2007, 2009, 2010 และ2011 โดยวินเทจ 2011 ขายในราคาขวดละ 4,500 ยูโร
ขณะเดียวกันวินเทจ 2016 และ 2017 ไม่มีการผลิตเนื่องจากหมอกลงจัดในพื้นที่ปลูกองุ่น ทำให้ผลผลิตองุ่นไม่ดีและมีการปลูกองุ่นซ่อมแซม ขณะที่วินเทจ 2018 จะเผยโฉมในปี 2021
ลูอิก ปาสเกต์ (Loïc Pasquet) เจ้าของและไวน์เมกเกอร์ ซื้อไร่แห่งนี้ในคอมมูนลังดีฮราส (Landiras) ใน อ.กราฟ (Graves) เมืองบอร์กโดซ์ (Bordeaux) เมื่อปี 2005 ผลิตไวน์จากองุ่นเก่าแก่ที่แทบจะหายไปจากเส้นทางไวน์ฝรั่งเศส เช่น กูลองต์ (Coulant) และกาสเตตส์ (Castets) แล้วหมักในไหดินอัมฟอรา (Amphora) ซึ่งเป็นการผลิตไวน์ที่นิยมกันก่อนที่ฟีลล็อกเซรา (Phylloxera) จะทำลายไร่องุ่นในยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 18
สำหรับชื่อ “Liber Pater” นำมาจากชื่อของ Liber Pater ตำนานแห่งโรมัน ซึ่งชื่อแปลว่า The free Fatherในฐานะของเทพเจ้าแห่งการปลูกองุ่นทำไวน์ ความอุดมสมบูรณ์ และอิสรภาพ และชาวโรมันถือว่า Liber Pater เป็น God of Wine & Vine เมื่อมีคำถามว่าแล้วแบคคัส (Bacchus) ที่ผู้คนยกย่องให้เป็นเทพเจ้าแห่งไวน์ล่ะ เรื่องนี้ Loïc Pasquet บอกว่ามีการค้นพบโบสถ์ของ Liber Pater ในซีเรีย (Syria) และลิเบีย (Libya) ซึ่งเป็นพื้นที่โบราณที่คริสต์ศาสนาเคยมีอิทธิพล และมีการปลูกองุ่นและทำไวน์ แต่ของ Bacchus ไม่มีการค้นพบ ดังนั้นเขาจึงใช้ชื่อ Liber Pater และเขาก็มีรูปเหรียญทองคำของ “Libero Pateri” อันเป็นที่มาของ Liber Pater นั่นเอง อย่างไรก็ตามเขาไม่ได้ปฏิเสธตำนานของกรีซโบราณที่เชื่อว่า ไดโอนีซุส (Dionysus) เป็นเทพเจ้าแห่งไวน์ของพวกเขา
ลูอิก ปาสเกต์ (Loïc Pasquet) เจ้าของไวน์ ”ลีแบร ปาแตร” (Liber Pater) กล่าวหลังจากที่เปิดตัววินเทจ 2015 เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา
”ลีแบร ปาแตร” (Liber Pater) กลายเป็นไวน์แดงราคาแพงที่สุดในโลก เมื่อวินเทจ 2015 เผยโฉมออกมาในราคาขวดละ 30,000 ยูโร หรือประมาณ 33,420 ดอลลาร์สหรัฐ วินเทจนี้ผลิตเพียง 550 ขวด ในจำนวนนี้ 240 ขวดจะเริ่มขายในเดือนกันยายน นี้เป็นต้นไป
Liber Pater 2015 ผลิตจากองุ่นเก่าแก่ที่เริ่มจะหายากขึ้นทุกวัน โดยที่ปลูกในเมืองบอร์กโดซ์ เช่น เปตีต ฟีดู (Petite Vidure, ตาร์นาย (Tarnay),กาสเตตส์ (Castets) และแซงต์ มาแกร (St-Macaire) พร้อมด้วยองุ่นดัง ๆ อย่างเปตีต์ แวร์กโดต์ (Petit Verdot) และมาลเบค (Malbec) หมักในไหดินอัมฟอรา (Amphora) ขนาด 250 และ 400 ลิตร มาเซอร์เรชั่น 2 เดือน ก่อนจะบ่ม 3 ปี และระบุในฉลากข้างขวดว่า “แฟง เดอ ฟรองซ์” (Vin de France) ไม่ใช่ “อาร์โอเซ/เอโอซี กราฟส์” (AOC Graves) เหมือนวินเทจก่อน เนื่องจากใช้องุ่นที่ไม่เข้ากฎตามข้อกำหนดการควบคุมคุณภาพไวน์ของบอร์กโดซ์
Liber Pater วินเทจ 2015 นับเป็นวินเทจที่ 6 ที่ผ่านมาคือ 2006, 2007, 2009, 2010 และ2011 โดยวินเทจ 2011 ขายในราคาขวดละ 4,500 ยูโร
ขณะเดียวกันวินเทจ 2016 และ 2017 ไม่มีการผลิตเนื่องจากหมอกลงจัดในพื้นที่ปลูกองุ่น ทำให้ผลผลิตองุ่นไม่ดีและมีการปลูกองุ่นซ่อมแซม ขณะที่วินเทจ 2018 จะเผยโฉมในปี 2021
ลูอิก ปาสเกต์ (Loïc Pasquet) เจ้าของและไวน์เมกเกอร์ ซื้อไร่แห่งนี้ในคอมมูนลังดีฮราส (Landiras) ใน อ.กราฟ (Graves) เมืองบอร์กโดซ์ (Bordeaux) เมื่อปี 2005 ผลิตไวน์จากองุ่นเก่าแก่ที่แทบจะหายไปจากเส้นทางไวน์ฝรั่งเศส เช่น กูลองต์ (Coulant) และกาสเตตส์ (Castets) แล้วหมักในไหดินอัมฟอรา (Amphora) ซึ่งเป็นการผลิตไวน์ที่นิยมกันก่อนที่ฟีลล็อกเซรา (Phylloxera) จะทำลายไร่องุ่นในยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 18
สำหรับชื่อ “Liber Pater” นำมาจากชื่อของ Liber Pater ตำนานแห่งโรมัน ซึ่งชื่อแปลว่า The free Fatherในฐานะของเทพเจ้าแห่งการปลูกองุ่นทำไวน์ ความอุดมสมบูรณ์ และอิสรภาพ และชาวโรมันถือว่า Liber Pater เป็น God of Wine & Vine เมื่อมีคำถามว่าแล้วแบคคัส (Bacchus) ที่ผู้คนยกย่องให้เป็นเทพเจ้าแห่งไวน์ล่ะ เรื่องนี้ Loïc Pasquet บอกว่ามีการค้นพบโบสถ์ของ Liber Pater ในซีเรีย (Syria) และลิเบีย (Libya) ซึ่งเป็นพื้นที่โบราณที่คริสต์ศาสนาเคยมีอิทธิพล และมีการปลูกองุ่นและทำไวน์ แต่ของ Bacchus ไม่มีการค้นพบ ดังนั้นเขาจึงใช้ชื่อ Liber Pater และเขาก็มีรูปเหรียญทองคำของ “Libero Pateri” อันเป็นที่มาของ Liber Pater นั่นเอง อย่างไรก็ตามเขาไม่ได้ปฏิเสธตำนานของกรีซโบราณที่เชื่อว่า ไดโอนีซุส (Dionysus) เป็นเทพเจ้าแห่งไวน์ของพวกเขา
พูดถึงไวน์แพงก่อนหน้านั้น “โรมาเน กงติ” (Romanée Conti) ทำสถิติเป็นไวน์แดงแพงที่สุดของโลกจากการประมูลวินเทจ 1945 ที่สถาบันประมูลโซธ์บีส์ (Sotheby’s) กรุงนิวยอร์ค เมื่อวันที่ 14 ต.ค.2018 โดยขวดแรกทำราคาได้ 558,000 ดอลลาร์สหรัฐ ขวดที่ 2 ทำราคาได้ 496,000 ดอลลาร์สหรัฐ
ย้อนไปก่อนหน้านั้นสถิติเดิมของการประมูลที่สถาบันประมูลโซธ์บีส์ กรุงนิวยอร์คแห่งนี้ เป็นของชาโต มูตง ร็อธส์ชิลด์ 1945 (Château Mouton Rothschild 1945) ขนาด 6 ลิตร (Jeroboam) ที่ถูกประมูลไปในเดือน ก.พ. 2007
เซอร์ อล็กซ์ เฟอร์กูสัน (Sir Alex Ferguson) อดีต ผจก.ทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด (Manchester United) ซึ่งเป็นนักสะสมไวน์ตัวยง มีไวน์สะสมกว่าพันขวด เคยนำไวน์ประมาณ 5,000 ขวดมาประมูลขายเพื่อนำเงินเข้าการกุศล 3 รายการติด หนึ่งในจำนวนนั้นคือโรมาเน กงติ วินเทจ 2002 ราคา 24,000 ดอลลาร์สหรัฐ โรมาเน กงติ วินเทจ 1997 ของเขาถูกประมูลที่ลอนดอน เมื่อปี 2014 ในราคา 94,815 ปอนด์ เป็นต้น
สำหรับ Romanée Conti วินเทจ 1945 ผลิตเพียง 600 ขวดเท่านั้น และ 2 ขวดที่นำมาประมูลนี้ เป็นไวน์สะสมส่วนตัวของโฮรแบรต์ ดรูน (Robert Drouhin) อดีตประธานบอร์ดบริหารของของเมซง โฌเซฟ ดรูน (Maison Joseph Drouhin) พ่อค้าไวน์ชื่อดังแห่งแคว้นเบอร์กันดี ในช่วงปี 1957-2003
Romanée Conti ผลิตโดยบริษัท โดเมน เดอ ลา โรมาเน กงติ หรือดีอาร์ซี (Domaine de la Romanee-Conti = DRC) ซึ่งมีไวน์ที่สุดแห่งที่สุดในโลกอยู่ 2 ตัวๆ คือ Romanee-Conti และลา ตาช (La Tache) เจ้าของบริษัทไวน์สะท้านภาพตัวนี้ที่คุณควรทำความรู้จักคือ นายอูแบรต์ เดอ วิลแลง (Aubert de Villaine) และมาดามลาลู บิซ เลอฮรัว (Lalou Bize-Leroy / เจ้าของ Domain Leroy) มีไร่องุ่นแค่ 74 เอเคอร์โดยมีไร่ของ Romanee-Conti เพียง 4.32 เอเคอร์ และไร่ La Tache อีก 14.4 เอเคอร์ที่เหลือเป็นตัวอื่นอีกไม่กี่ตัว เกินกว่านั้นเป็นองุ่นที่ซื้อจากชาวไร่อื่นๆ
นอกจากจะมีคุณภาพน้ำเนื้อดีเยี่ยมอยู่ในตัว อันเกิดจากธรรมชาติให้มาแล้ว โดเมน เดอ ลา โรมาเน กงติ ยังใช้ระบบการตลาดเข้ามาผสมผสานด้วยในรูปแบบที่เรียกว่า “ผูกหางหมา” คือมีสินค้าโดดเด่นเพียงตัวเดียว อยากได้ก็ต้องซื้อสินค้าตัวอื่นในเครือพ่วงไปด้วย แน่นอนพระเอกคือ Romanee Conti ไวน์ 1 ลัง 12 ขวดจะได้ Romanee Conti ขวดเดียว รองลงมาเป็น La Tache 2 ขวด ที่เหลือเฉลี่ยกันไปในเครือรวม 7 ตัวคือ Richebourgs,Romanee St.Vivants,Grands Echezeaux และ Echezeaux เป็นต้น นอกจากนั้นยังจำกัดโควตาการซื้อด้วย ซึ่งเมืองไทยไม่มีโควต้า
อย่างไรก็ตาม มูลค่าราคาแพงของโรมาเน กงติ ก็ขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ หรือแตร์ฮรัวร์ (Terroir) ของไร่ตัวเองด้วย ทั้งที่มีพื้นที่ปลูกองุ่นเพียง 4 เอเคอร์ (1 เอเคอร์ = 2.5 ไร่) น้อยจนแทบไม่มีใครอยากจะเชื่อ ขณะเดียวกันการดูแลต้นองุ่นปีโนต์ นัวร์ (Pinot Noir) ของเขามีความละเอียดอ่อนมาก ตั้งแต่เรื่องดินที่ต้องใช้ม้าเทียมแอกค่อยๆ ไถพรวนดิน เพื่อให้ดินไม่แน่นและระบายอากาศได้ดี ฯลฯ
โดเมน เดอ ลา โรมาเน กงติ มักจะเป็นผู้เก็บเกี่ยวองุ่นล่าช้ากว่าใครในแคว้นเบอร์กันดี ต้นองุ่นทุกต้นจะถูกแต่งกิ่งเหลือเพียงกิ่งเดียว แม้โควตาการผลิตจะถูก หน่วยงานที่ควบคุมการผลิตไวน์ของฝรั่งเศส (INAO) อนุญาตให้ผลิตได้ถึง 45 เฮกโตลิตร/เฮกตาร์ แต่พวกเขาผลิตจริงๆ เพียง 20 เฮกโตลิตร/เฮกตาร์ เพื่อให้น้ำองุ่นที่คุณภาพสูง รวมทั้งบ่มในถังโอคใหม่ 100% เป็นเวลากว่า 18 เดือนจึงจะบรรจุขวดขาย ยอดผลิตของยอดไวน์แต่ละยี่ห้อมีน้อยมาก เช่น Romaee-Conti บรรจุได้ตกปีละ 6,500 ขวด ส่วน La Tache บรรจุได้ตกปีละ 13,000-26,000 ขวด Richebourg ซึ่งมีไร่องุ่น 8.61 เอเคอร์ บรรจุได้ปีละ 13,000-14,500 ขวด ส่วนไวน์ขาว Montrachet มีไร่องุ่น 1.65 เอเคอร์ บรรจุได้ปีละ 2,700 ขวด
แต่ตัวที่กำหนดราคาคือ วินเทจ (Vintage) หรือปีที่เก็บเกี่ยว และสูตรลับการปรุงแต่ง ให้ไวน์มีรสชาติที่ยอดเยี่ยม พลังล้ำเลิศเหนือใคร แม้บางปีพระเจ้าจะไม่เอื้ออำนวยในเรื่องแดดลมและฝน แต่ทุกคนก็ยังพากันแปลกใจว่าโรมาเน กงติมีเวทมนตร์วิเศษอันใด จึงสามารถเนรมิตให้ไวน์มีรสชาติที่เหนือฟ้าใต้บาดาล ราคานอกจากจะไม่ตกแล้ว ยังขึ้นทุกปี

เมื่อปี 2018 ที่ผ่านมามีการเปิดตัวไวน์ “โอรัม เรด โกลด์” (Aurum Red Gold) และถูกระบุว่าเป็นไวน์ที่แพงที่สุดในโลก เพราะราคาขวดละ 25,000 ยูโร หรือเกือบ ๆ 1 ล้านบาท โดยไวน์ขวดนี้ทำมาจากเตมปรานิลโย (Tempranillo) ซึ่งเป็นองุ่นแดงประจำชาติสเปน โดยใช้เทคนิคการผลิตไวน์สมัยใหม่ผสมผสานกับแบบดั้งเดิม และบอกว่าองุ่นพวกนี้อายุประมาณ 100 ปี ผลิตเพียง 300 ขวด
สิ่งที่ทำให้ไวน์ชนิดนี้แตกต่างกว่าไวน์ชนิดอื่นคือการใช้ “โอโซนบำบัด” หรือ “Ozone Therapy” ที่ใช้ทั่วไปในการรักษาโรคมะเร็ง โรคเอดส์ โรคระบบประสาทและโรคอื่นๆ มาผสมผสานในกระบวนการการผลิตไวน์
นายอิลาริโอ การ์เซีย (Hilario Garcia) เจ้าของและผู้ผลิต AurumRed บอกว่าเขารู้จักกับกระบวนการโอโซนบำบัด หลังจากได้ใช้วิธีนี้รักษาอาการอัมพาตที่กระดูกสันหลังของเขา จึงตัดสินใจทดลองผลิตไวน์ในห้องปฏิบัติการ โดยเติมโอโซนเข้าไปในน้ำที่ใช้ทำไวน์ ซึ่งโอโซนบำบัดนั้นในทางการแพทย์จะเป็นตัวเพิ่มออกซิเจนให้กับร่างกายของคน เริ่มต้นโครงการในปี 2009 ในเมืองลาส เปโดรเญราส (Las Pedroñeras) โดยมีวัตถุประสงค์คือการผลิตไวน์ที่ดีต่อสุขภาพและมีความสมดุล
AurumRed ผลิตจากองุ่นที่ปลูกในไร่ขนาดเล็กในลา มันชา (La Mancha) ตอนกลางค่อนไปทางตะวันออกของประเทศสเปน ปลูกองุ่นหลัก ๆ คือเตมปรานิลโย (Tempranillo),กาแบร์เนต์ โซวีญยง (Cabernet Sauvignon) และโซวีญยง บลัง (Sauvignon Blanc) ซึ่งมีการใช้ “Pyramidal Energy” ในการปลูกองุ่นด้วย ด้วยการนำโครงสร้างปิรามิดหลาย ๆ อัน มาครอบเถาองุ่นไว้
นั่นคือส่วนหนึ่งของไวน์แดงราคาแพงที่สุดระดับโลก สิ่งที่อยากให้ระลึกไว้เสมอคือ “ไวน์ราคาแพงนั้นดีอยู่แล้ว แต่ไวน์ดีไม่จำเป็นต้องแพง ทุกอย่างขึ้นอยู่กับปากและลิ้นของท่านเอง”

Thawatchai Tappitak

ธวัชชัย เทพพิทักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวน์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่าง ๆ รวมทั้งด้านอาหาร เคยเดินทางไปทำไวน์ในยุโรป 5 ปีครึ่ง จึงนำประสบการณ์ด้านดังกล่าวมาถ่ายทอดสู่แวดวงที่เกี่ยวข้อง นานกว่า 20 ปี เป็นกรรมการตัดสินไวน์ บาร์เทนเดอร์ ฯลฯ ปัจจุบันเป็นคอลัมนิสต์ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และนิตยสาร เช่น Thailand Restaurant News,GQ,Gastrogsm ฯลฯ นอกจากนั้นยังสอนไวน์ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย ------------- ข้อมูลบทความ/ภาพ/วิดีโอ ในเว็บไซต์ ThatwatchaiGURU.com เป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียน การนำไปเผยแพร่ไม่ว่าในรูปแบบใดๆ (นอกจากการแชร์) ต้องได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ----------- ติดต่อ: ThawatchaiGURU@at-Bangkok.com

You may also like...