“ไวน์อิสราเอล” ภายใต้เงื้อมเงาของควันปืน

ภายในไวเนอะรี คอมเพล็กซ์

โรงผลิตไวน์ทันสมัย

ไร่องุ่นกลางทะเลทราย

ไร่องุ่นที่มีชื่อเสียงมาก

ไร่องุ่นในอิสราเอล

ไวน์คาร์เมล

ไวน์บาร์กัน

ไวเนอะรี คอมเพล็กซ์ ที่พบในปี 2021

สองไวน์ชื่อดัง

แหล่งทำไวน์อิสราเอล

ไหบรรจุไวน์โบราณ

การเก็บองุ่นในอิสราเอล

โคเชอร์

ธนบัตร บาฮรง เอ็ดมอนด์

บาฮรง เอ็ดมอนด์“อิสราเอล” (Israel) เป็นอีกหนึ่งในประเทศที่ต้องบันทึกไว้ว่าไม่ธรรมดาสำหรับการผลิตไวน์ เพราะสามารถผลิตไวน์คุณภาพดีไม่แพ้ยักษ์ใหญ่แห่งโลกใหม่อย่าง ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา ชิลี นิวซีแลนด์ และเซาท์ แอฟริกา บางยี่ห้อ บางรุ่นสามารถพิชิตไวน์โลกเก่าได้
อิสราเอลเป็นแผ่นดินหนึ่งที่พระเจ้าประทานมาให้สำหรับทำไวน์ ขณะเดียวกันก็เหมือนกับดินแดนต้องคำสาป ถูกเขม่าการเมืองและควันปืนปกคลุมจนเกือบหมด แม้บางครั้งท้องฟ้าดูจะโปร่งบ้างแต่ก็เป็นเพียงระยะหนึ่ง ไม่นานเงื้อมเงามฤตยูก็กลับมาปกคลุมอีก อย่างที่เป็นอยู่ในเวลานี้ …!!
อิสราเอล ผลิตไวน์มาตั้งแต่ยุคไบบลิคัล (Biblical) ซึ่งตอนนั้นอิสราเอลถูกเรียกว่าคานาน (Canaan) และฌูเดีย (Judea) มีหลักฐานว่าผลิตไวน์ก่อนชาติในยุโรปประมาณ 200 ปี สมัย Biblical นั้นไวน์มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก โดยในช่วงต้นคริสตกาล ดินแดนแห่งนี้เป็นศูนย์กลางการค้าไวน์ที่กระจายไปสู่ฝรั่งเศส อิตาลี และเลบานอน
ศูนย์กลางการผลิตไวน์ของอิสราเอลยุคโบราณอยู่ที่เมืองกิบอน (Gibeon) ประมาณปี 1959-1960 นักโบราณคดีได้ค้นพบเซลลาร์ใต้ดินสำหรับเก็บไวน์ ซึ่งอุณหภูมิประมาณ 20 องศาเซลเซียส พร้อมกับพิสูจน์พบว่า ไวน์ถูกผลิตและเก็บอยู่ในเมืองกิบอนตั้งแต่ 600– 700 C.E.
หลังจากโรมันรุกราน Judea ในช่วง 70 C.E. ไร่องุ่นถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก และเมื่อมุสลิมเข้ามาครอบครองในช่วง 636 C.E. ไวน์ก็กระสานซ่านเซ็นแทบจะสูญหายไปจากดินแดนแห่งนี้ ประกอบกับความไม่สงบในภูมิภาคตะวันออกกลางซึ่งดึงอิสราเอลเข้าไปเกี่ยวข้องกับความรุนแรงในตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้อรรถรสน่าตื่นตะลึงเกี่ยวกับไวน์ของอิสราเอลถูกกลบด้วยเสียงอื้ออึงของสงครา
อิสราเอลมีชื่อเสียงในการผลิตโคเชอร์ (Kosher) หรือไวน์หวานสำหรับประกอบพิธีกรรม โดยมีลูกค้าเป็นกลุ่มชาวยิวที่กระจายอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เป็นสินค้าส่งออกหลัก ปัจจุบันโคเชอร์ก็ยังมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไวน์ของอิสราเอล
โคเชอร์ หมายถึงอาหารคนยิว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เคร่งศาสนา (ศาสนายูดาย) วิธีดูว่าเคร่งหรือไม่เคร่งศาสนาให้ดูที่การใส่หมวก ถ้าใส่หมวก ไม่ว่าจะหมวกใหญ่ หมวกเล็ก สีดำ สีฟ้า หรือสีขาวก็ตาม ถือว่าเคร่งและต้องหาโครเชอร์มารับประทา
หนึ่งในจำนวนโครเชอร์ก็คือ “องุ่นและผลิตภัณฑ์จากองุ่น” โดยองุ่นที่เป็นผลไม้ธรรมชาตินั้นเป็นโคเชอร์อยู่แล้ว แต่ผลิตภัณฑ์จากองุ่นจะต้องได้รับการพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป ขณะที่ “ไวน์” จากองุ่นเป็นเครื่องดื่มที่ใช้ในพิธีทางศาสนา จึงถือว่าเป็นโคเชอร์ไปโดยปริยาย แต่ผลิตภัณฑ์จากองุ่นอื่น ๆ จะต้องทำจากน้ำองุ่นที่ได้รับการตรวจตราโดยตลอดตั้งแต่ต้นจนจบเท่านั้นถึงจะเป็น ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในข่ายพิจารณาให้การรับรองโคเชอร์
ในความเป็นจริง อิสราเอล สามารถผลิตไวน์ได้ถึงปีละ 6 ล้านขวดต่อปีและส่งออกไปยัง 60 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งฝรั่งเศส และ อิตาลี ที่ถูกจัดเป็นประเทศผู้ผลิตไวน์ในโลกเก่า
ปี 2021 สด ๆ ร้อน ๆ อิสราเอล ได้ค้นพบไวเนอะรี คอมเพล็กซ์ ขนาดใหญ่ในเมือง Yavne ที่คาดว่าน่าจะมีอายุกว่า 1,500 ปีหรือยุคไบเซนไทน์ (Byzantine) พบอุปกรณ์ในการผลิตไวน์ต่าง ๆ โกดังขนาดใหญ่ 4 แห่ง ซึ่งคาดว่าจะมีกำลังการผลิตไวน์ปีละประมาณ 2 ล้านลิตร
ยุคใหม่ของการผลิตไวน์ของอิสราเอลเริ่มต้นเมื่อ บาฮรง เอ็ดมอนด์ เดอ ร็อธส์ไชลด์ (Baron Edmond de Rothschild) หุ้นส่วนใหญ่ชาโต ลาฟิต ร็อธส์ชิลด์ (Chateau Lafite Rothschild) 1ใน “5 เสือเมด็อก” และเจ้าของชาโต คลาร์ก (Chateau Clarke) ซึ่งเบญจามิน เดอ ร็อธไชลด์ (Benjamin de Rothschild) ทายาทรุ่นที่ 7 เพิ่งจากไปด้วยสาเหตุหัวใจล้มเหลวในวัย 52 ปี ไปเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา
ในปี 1882 Baron Edmond ที่มีเชื้อสายยิว สนับสนุนให้ชาวยิวอพยพปลูกองุ่นทำไวน์ ท่ามกลางดินที่แน่นไปด้วยหิน ทราย และอากาศที่ร้อนระอุ ประกอบกับช่วงนั้นฟีลล็อกซีราทำลายองุ่นในยุโรปจนแทบจะราบเป็นหน้ากลอง
Baron Edmond สร้างไร่องุ่น 2 แห่ง ๆ แรกที่เมืองซิกฮรอน ยากอฟ (Zikhron Ya’aqov) อยู่ทางเหนือของประเทศ หรือ 35 กิโลเมตรลงไปทางใต้ของเมืองไฮฟา (Haifa) ซึ่งเป็นเมืองแรกที่ชาวยิวอพยพมาอยู่ อีกแห่งหนึ่งอยู่ที่เมืองริชอน เลเซียน (Rishon LeZion) เมืองใหญ่อันดับ 4 ของอิสราเอล อยู่ตอนกลางของประเทศ …ปรากฏว่าวินเทจแรกไวน์ออกมาหวาน เนื่องจากอุณหภูมิสูง
ปี 1906 Baron Edmond ได้ยกการบริหารงานในไร่ดังกล่าวให้กับเกษตรกรที่ร่วมกันก่อตั้ง Societe Co-operative Vigneronne des Grandes Caves ปี 1957 เจมส์ ร็อธไชลด์ ลูกชายของ Baron Edmond ได้บริจาคไร่ให้กับสหกรณ์ดังกล่าว ต่อมาผลิตไวน์ภายใต้ชื่อคาร์เมล (Carmel)
ปี 1906 Baron Edmond ได้ยกการบริหารงานในไร่ดังกล่าวให้กับเกษตรกรที่ร่วมกันก่อตั้ง Societe Co-operative Vigneronne des Grandes Caves ปี 1957 เจมส์ ร็อธไชลด์ ลูกชายของบารอนได้บริจาคไร่ให้กับสหกรณ์ดังกล่าว ต่อมาผลิตไวน์ภายใต้ชื่อการ์เมล (Carmel)
ในช่วงศตวรรษที่ 20 Carmel เป็นไวน์อิสราเอลรายแรกที่ไปคว้าเหรียญทองจากงาน Paris World’s Fairที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส รุ่นที่ได้คือ Carmel No.1 วินเทจ 1900 นั่นเป็นสัญญาณว่าไวน์อิสราเอลกลับสู่ความยิ่งใหญ่ หลังสลบเหมือดไปถึง 2,000 ปี
ท่านบาฮรองทำคุณประโยชน์ให้กับวงการไวน์ และรบบเศรษฐกิจของประเทศอิสราเอลมากมาย จนรัฐบาลนำรูปของท่านไปพิมพ์ลงในธนบัตร
พันธุ์องุ่นในอิสราเอลล้วนเป็นสายพันธุ์แคลซสิคจากยุโรปทั้งสิ้น โดยกาแบร์กเนต์ โซวีญยอง (Cabernet Sauvignon) นิยมปลูกมากที่สุด และทำไวน์ได้คุณภาพดี ตามด้วยแมร์กโลต์ (Merlot),โซวีญยอง บลอง (Sauvignon Blanc) และชาร์โดเนย์ (Chardonnay) นอกนั้นก็มีปิโนต์ นัวร์ (Pinot Noir) กาแบร์กเนต์ ฟรอง (Cabernet Franc) โยฮันนิสเบิร์ก รีสลิ่ง (Johannisberg Riesling) เกวืร์ซทรามิเนอร์ (Gewürztraminer) และมุสแคต คาเนลลี (Muscat Canelli)
พันธุ์ใหม่ ๆ ก็มีซีราห์/ชิราซ (Syrah/Shiraz),เปตีต์ แวร์กโดต์ (Petit Verdot),วีญอเย (Viognier),ซินฟานเดล (Zinfindel),เปตีต์ แวร์กโดต์ (Petite Sirah) และมุสแคต ออฟ อเล็กซานเดรีย ( Muscat of Alexandria) ใช้ทำไวน์หวาน ส่วนเอ็มเมอรัล รีสลิง (Emerald Riesling) เกิดจากการผสมสายพันธุ์ระหว่างโจฮันนิสเบิร์ก รีสลิง (Johannisberg Riesling) กับมุสกาเดลล์ (Muscadelle อิสราเอลสามารถทำได้กว่าแคลิฟอร์เนีย แหล่งกำเนิดเดิมขององุ่นพันธุ์นี้
แหล่งปลูกองุ่นดั้งเดิมของอิสราเอลอยู่ในเขตชารอน แอนด์ ชิมชอน (Sharon & Shimshon) แต่ไวน์คุณภาพดีเยี่ยมมาจากอัปเปอร์ กาลิลี (Upper Galilee),ที่ราบสูงโกลัน (Golan Heights),ฌูดีน ฮิลล์ แอนด์ รามัต อารัด (Judean Hills & Ramat Arad) เนื่องจากบริเวณนี้ดินเป็นดินแดง เทอร์รา รอสซา (Terra Rossa) หินปูน,ดินเหนียวปนทราย และดินภูเขาไฟ มีพื้นที่ปลูกองุ่นรวม 4,000 เฮกตาร์ ทำให้อิสราเอลเป็นหนึ่งประเทศขนาดเล็กที่ผลิตไวน์ได้ยอดเยี่ยม
ในช่วงศตวรรษที่ 20 Carmel เป็นไวน์อิสราเอลรายแรกที่ไปคว้าเหรียญทองจากงาน Paris World’s Fair ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส รุ่นที่ได้คือ Carmel No.1 วินเทจ 1900 เป็นสัญญาณว่าไวน์อิสราเอลกลับสู่ความยิ่งใหญ่ หลังสลบเหมือดไปถึง 2,000 ปี
ปี 1970 Carmel เริ่มผลิตไวน์จากองุ่นพันธุ์แคลซสิคเป็นครั้งแรกของอิสราเอล จากองุ่นกาแบร์กเนต์ โซวีญยอง (Cabernet Sauvignon) และโซวีญยอง บลอง (Sauvignon Blanc) ขณะที่อิสราเอล ไฟน์ ไวน์ที่ผลิตอย่างจริงจังพิถีพิถันตัวแรกคือ Carmel Special Reserve 1976 (วางตลาดปี 1980)
วิกฤติแห่งความขัดแย้งครั้งใหม่นี้ เลี่ยงไม่ได้ที่จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไวน์อิสราเอลในด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งทุกคนล้วนอยากให้ทุกอย่างจบด้วยดีและรวดเร็ว !
หมายเหตุ : หนึ่งในผู้ผลิตไวน์ระดับคุณภาพและสร้างชื่อเสียงให้กับอิสราเอล และถูกนำเข้ามาเมืองไทยครั้งแรกคือ “บาร์กัน” (Barkan) นำเข้าโดยบริษัท U&V Intertrade และยังเหนียวแน่นมาจนถึงปัจจุบันกว่า 20 ปีไม่เคยเปลี่ยนผู้นำเข้า แถมมีหลากหลายรุ่นกว่าแต่ก่อน นอกจากนั้น U&V Intertrade น่าจะเป็นเจ้าเดียวที่นำเข้าไวน์อิสราเอล พร้อมสินค้าอิสราเอลอีกหลายอย่าง ท่านที่สนใจสอบถามที่ โทร.02 962 0788

Thawatchai Tappitak

ธวัชชัย เทพพิทักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวน์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่าง ๆ รวมทั้งด้านอาหาร เคยเดินทางไปทำไวน์ในยุโรป 5 ปีครึ่ง จึงนำประสบการณ์ด้านดังกล่าวมาถ่ายทอดสู่แวดวงที่เกี่ยวข้อง นานกว่า 20 ปี เป็นกรรมการตัดสินไวน์ บาร์เทนเดอร์ ฯลฯ ปัจจุบันเป็นคอลัมนิสต์ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และนิตยสาร เช่น Thailand Restaurant News,GQ,Gastrogsm ฯลฯ นอกจากนั้นยังสอนไวน์ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย ------------- ข้อมูลบทความ/ภาพ/วิดีโอ ในเว็บไซต์ ThatwatchaiGURU.com เป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียน การนำไปเผยแพร่ไม่ว่าในรูปแบบใดๆ (นอกจากการแชร์) ต้องได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ----------- ติดต่อ: ThawatchaiGURU@at-Bangkok.com

You may also like...