Author: Thawatchai Tappitak

Qvevri

ไวน์จอร์เจีย “ไวน์ที่โลกลืม”

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมได้รับเชิญไปพูดเรื่องไวน์ให้กับหน่วยงานหนึ่ง มีหัวข้อหนึ่งซึ่งมีการถกเถียงกันคือ “ประเทศใดผลิตไวน์เป็นประเทศแรกในโลก ?” จริง ๆ เรื่องนี้มีการถกเถียงกันมาโดยตลอด และยังไม่มีข้อสรุป ที่สรุปได้ก็คือขึ้นอยู่กับว่าประเทศใดจะอ้างอิง อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงเรื่องดังกล่าว มีชาติหนึ่งที่มักจะถูกกล่าวถึง ไม่ใช่ประเทศที่มีไวน์กระจายอยู่ในตลาดโลกปัจจุบันอย่าง ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน ฯลฯ แต่เป็นชาติที่หลายคนอาจะคาดไม่ถึง นั่นคือ “จอร์เจีย” !! จอร์เจีย (Georgia) ได้รับการบันทึกว่าเป็นชาติผลิตไวน์เก่าแก่ที่สุดชาติหนึ่งในยุโรปและของโลก และได้ชื่อว่าเป็น “The birth place of wine” หรือ “The Cradle of Wine...

Crémant d’Alsace

“เครมองต์” พรายฟองน้องแชมเปญ

…“สปาร์คกลิ้งไวน์” (Sparkling Wine) ที่จะเรียกว่า “แชมเปญ” หรือ “ชอมปาญ” (Champagne) ได้ ต้องผลิตในแคว้นแชมเปญ (Champagne) ของฝรั่งเศส เท่านั้น ที่เหลือแม้จะผลิตแบบแชมเปญ และคุณภาพยิ่งกว่าน้ำอมฤติจากสรวงสวรรค์ก็มิอาจจะเรียกแชมเปญได้ ต้องเรียกอย่างอื่นหรือใช้คำอื่น ชื่อ “แชมเปญ” (Champagne) ถูกคุ้มครองโดยกฎหมายกรุงมาดริด 1891 (Treaty of Madrid 1891) เกี่ยวกับการผลิตสปาร์คกลิ้งไวน์ในเขตผลิตที่กำหนด (Appellation d’Origine Contrôlée = AOC) กฎหมายนี้ได้รับการยืนยันอีกครั้งโดย Treaty of...

แม่น้ำโฮรนและไร่องุ่น

“โก๊ต ดู โฮรน” รสชาติแห่งขุนเขาและสายน้ำ

…“โก๊ต ดู โฮรน” (Côtes-du-Rhône) หรือ “โฮรน แวลลีย์” (Rhône Valley) เป็นอีกแคว้นหนึ่งของฝรั่งเศสที่ผลิตไวน์คลาสสิคและมีเสน่ห์เฉพาะตัว สมัยก่อนบ้านเรายึดติดอยู่กับบอร์กโดซ์ (Bordeaux) ทำให้ไม่ค่อยมีไวน์ดี ๆ จากโก๊ต ดู โฮรน ให้ลิ้มรส ปัจจุบันมีผู้นำเข้าไวน์จากเขตนี้หลากหลายขึ้น “โก๊ต ดู โฮรน” อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส พื้นที่ไล่เรียงเคียงข้างไปกับแม่น้ำโฮรน (Rhône River) เริ่มตั้งแต่ใต้เมืองดีฌง (Dijon) เรื่อยลงจนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน หรือทางใต้ของเมืองอาร์วีญอง (Avignon) รวมระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตร...

เปรู ปิสโก

“เปรู ปิสโก” อารยธรรมแดนอินคา

…ปลายปี 2547 บริษัท ติลลิกี แอนด์ กิบบินส์ อินเตอร์เนชั่นแนล ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากรัฐบาลเปรู ได้ยื่นเอกสารขอจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ประเภทสุราชื่อ “ปิสโก” (Pisco) ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาของไทย เนื้อหาระบุว่า… “ปิสโก” เป็นชื่อเมืองทางชายฝั่งตะวันตกของเปรู มีชื่อในฐานะแหล่งผลิตเหล้าองุ่น มีความเป็นโบราณที่เชื่อมโยงตั้งแต่องุ่นที่ปลูกในพื้นถิ่น วัฒนธรรม และกรรมวิธีทำเหล้าองุ่นที่ผสมสานทั้งวัฒนธรรมและเทคโนโลยีที่พัฒนาในหุบเขาอินคา มีอายุยั่งยืนมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 และเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของเปรู….” ถือเป็นรายแรกที่ยื่นขอจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (จีไอ) หลังไทยมีกฎหมายคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นไปได้ที่เปรูต้องการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดเสรีกับไทย (FTA) ประเทศเปรูสำหรับคนไทยส่วนใหญ่รู้จักกันคือ “มาชู ปิกชู” (Machu Picchu)...

Mobier

“ชีส กรูแยร์”ควรจับคู่กับไวน์อะไรดี

…ประเทศฝรั่งเศสนอกจากจะมีไวน์ที่ยอดเยี่ยมแล้ว ยังมีชีส (Cheese) หรือเนยแข็งที่สุดยอดของโลกด้วย แต่ละแว่นแคว้นก็มีชีสเป็นสูตรพิเศษประจำถิ่น เรียกชื่อต่าง ๆ กัน โดย “ชีสกับไวน์” เป็นความสุนทรีอย่างหนึ่งของคนฝรั่งเศส รวมทั้งยุโรปอีกหลายชาติ เป็นศาสตร์และศิลป์ ที่สำคัญเป็นวัฒนธรรมอาหารการกินที่สืบเนื่องกันมายาวนาน ฝรั่งเศสให้ความสำคัญกับ Cheese เช่นเดียวกับไวน์ที่ดีมีควบคุมคุณภาพ คำว่า AOC Cheese (Appellation d’Origine Controlee Cheese) จึงได้เกิดขึ้นมา เพื่อคัดชีกว่า 400 ชนิดในฝรั่งเศสให้มีมาตรฐานสำหรับผู้บริโภค AOC Cheese เป็นชีสที่ได้รับการรับรองคุณภาพและมาตรฐานจากรัฐบาล ชาร์ล เดอ โกลล์...

Primitivo Grapes Puglia Italy

“ปริมิติโว” ”พระรอง”ที่ยิ่งใหญ่ของปุลญา

..เมื่อพูดถึงไวน์อิตาลี ชื่อขององุ่น “ซานโจเวเซ” (Sangiovese) และ ”เนบบิโอโล” (Nebbiolo) มักจะปรากฏในอันดับแรก ๆ ขณะที่ “ปริมิติโว” (Primitivo) ที่ปลูกมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศ กลับเป็น ”พระรอง” ทั้งที่บาทบาทสำคัญมิใช่น้อย “ปริมิติโว” เป็นองุ่นแดงประจำแคว้นปุลญา (Puglia) หรืออะพิวเลีย (Apulia) ในภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็น 1 ใน 20 แคว้นทำไวน์ของอิตาลี ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ ดูตามแผนที่อิตาลีที่เป็นรองเท้าบูท แค้นปุลญาอยู่ตรงส้นเท้าพอดี Puglia เป็นดินแดนที่ค่อนข้างขาดแคลนน้ำ...

3

ออร์แกนนิคไวน์ เพื่อคอไวนสายคลีน

…. เรื่องที่กำลังมาแรงและทั่วโลกกำลังตื่นตัว มีการพูดถึงมากเรื่อย ๆ และไวน์ประเภทนี้ก็มีจำหน่ายในเมืองไทยมากขึ้น นั่นคือ “ไวน์ ออร์แกนนิค” (Organic Wine) ไวน์ออร์แกนนิคปรากฏสู่ตลาดครั้งแรกประมาณปี 1980 โดยผู้ผลิตในสวิตเซอร์แลนด์ภายใต้ชื่อ “Delica-Natura” หลังจากนั้นความต้องการก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้น ประมาณกลางทศวรรษ 1980 จึงเริ่มมีการกำหนดกฎเกณฑ์แห่งชาติขึ้น ตั้งแต่ปี 1991 ประชาคมร่วมยุโรปหรืออียู ได้ออกบทบัญญัติสำหรับไวน์ออร์แกนนิคขึ้นมา มีผลบังคับใช้อย่างทั่วถึงกันในกลุ่มประเทศสมาชิก ผู้ผลิตไวน์ออร์แกนนิคที่ผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่แล้ว จะได้รับหมายเลขทะเบียนตรวจสอบ สามารถนำไปพิมพ์ในฉลากข้างขวดได้ Vinexpo 2017 ที่เมืองบอร์กโดซ์ ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นงานแสดงไวน์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก เป็นครั้งแรกที่มีการเปิดพื้นที่อย่างเต็มรูปแบบให้กับไวน์ออร์แกนนิค (Organic)...

Limoncino

“ซุปเปอร์ ทัสคัน ดินเนอร์” ในบรรยากาศทัสคานีเมืองตรัง

…”ทัสคานี” หรือ “ต อสกานา” (Tuscany/Toscana) เป็นแคว้นผลิตไวน์ระดับหัวกะทิของอิตาลี มีไวน์ดัง ๆ ที่คอไวน์คุ้น ๆ กันมาแต่ครั้งอดีตอย่าง เคียนติ (Chianti) และบรูเนลโล ดิ มอนตาลชิโน (Brunello di Comune di Montalcino) เป็นต้น แต่ที่โด่งดังและราคาแพงในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาเห็นจะไม่มีอะไรเกิน”ซุปเปอร์ ทัสคัน” (Super Tuscan) ซึ่งเพิ่งเป็นที่รู้จักในบ้านเราไม่กี่ปีที่ผ่านมา เดิมรู้จักกันในนาม “ไวน์ขบถ” “ซุปเปอร์ ทัสคัน” ผลิตในแคว้นทัสคานีเท่านั้น เริ่มในช่วงทศวรรษที่ 50...

ลายพระหัตถ์ในฉลาก

“ชาโต มูตง ร็อธชิลด์ 2004” ไวน์ทรงคุณค่าที่หายากแห่งยุค !

นับจากวินาทีที่ “เจ้าฟ้าชายชาลส์” ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษ ในแวดวงการค้าไวน์ทั่วโลกก็เกิดความจ้าละหวั่นในการควาญหาไวน์อยู่ตัวหนึ่ง กลายเป็นไวน์ที่มีความต้องการสูงในท้องตลาด บางคนไหวตัวเร็วก็ได้มาครอบครอง ขณะที่หลาย ๆ คนพลาดไป ไม่เฉพาะในประเทศอังกฤษเท่านั้น แต่รวมถึงตลาดทั่วโลก ตลาดเอเชีย โดยเฉพาะสิงค์โปร์ซึ่งใกล้เมืองไทยที่สุด และคนไทยไปซื้อกันมาก ถูกนักเก็งกำไรกว้านซื้อไปจนหมดเกลี้ยง และบางแห่งก็มีการนำออกมาประมูลกันแล้ว !! สำหรับในเมืองไทยราคาของไวน์ขวดนี้เดิมอยู่ที่ประมาณ 23,000 – 25,000 บาท ราคาทะยานไปกว่า 30,000 บาท แต่แทบจะไม่มีใครสมหวัง เพราะหาซื้อไม่ได้แม้จะกำเงินสด ๆ อยู่ในมือก็ตาม !!! ไวน์ดังกล่าวคือ “ชาโต มูตง ร็อธชิลด์...

พิธีการหน้า Blair Castle

“จักรกฤต เบเนเดทตี้” ได้รับคัดเลือกให้เป็น “Keepers of The Quaich”

“We look to Scotland for all our ideas of civilization” ความตอนหนึ่งที่ “วอลแตร์” (Voltaire) ปราชญ์,นักเขียน และนักประวัติศาสตร์ในยุคเรืองปัญญาของฝรั่งเศส กล่าวถึงประเทศสกอตแลนด์ สกอตแลนด์ (Scotland) ประเทศที่เล็กก็ด้วยแค่จำนวนประชากรและขนาดพื้นที่ หากแต่เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่จนน่าอัศจรรย์ หากวัดในด้านผลงานที่ผลิตสู่ชาวโลกและยังสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ผลงานปรัชญาและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ของชาวสกอตช์ในยุค Enlightenment ซึ่งนำโดยนักปรัชญาชั้นนำอย่าง เดวิด ฮูม (David Hume) และ อดัม สมิธ (Adam Smith) นั้นปลุกยุโรปให้ตื่นจากความหลับใหล...

Camus Single Cask 0

“คามูส์ ซิงเกิ้ล คาสค์” สานสายใยครอบครัวไทย-ฝรั่งเศส

บนโต๊ะดินเนอร์อย่างเต็มรูปแบบและเป็นทางการของฝรั่งเศสนั้น “บรั่นดี” (Brandy) เป็นเครื่องที่ต้องมี เป็น “วัฒนธรรมการดื่มกิน” ที่สืบทอดต่อเนื่องกันมาหลายร้อยปี !! บรั่นดีของฝรั่งเศสดังกล่าวก็ต้องเป็น “คอนยัก” (Cognac) หรือ “อาร์มาญยัก” (Armagnac) ซึ่งมีผู้ผลิตอยู่มากมายทั้งที่ดำเนินการในแบบครอบครัวและบริษัทใหญ่โต โดยเฉพาะแบบครอบครัวนั้นบางรายทำกันมาหลายร้อยปีโดยไม่เคยเปลี่ยนเจ้าของ กล่าวสำหรับคอนยัก “คามูส์” (Camus) เป็นหนึ่งในคอนยัก เฮาส์ (Cognac House) หรือผู้ผลิตคอนยัก ที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุด และครอบครองโดยตระกูลคามูส์มายายวนานจนปัจจุบันเป็นทายาทรุ่น 5 “คามูส์” ก่อตั้งในปี 1863 โดยฌอง บาปตีสต์ คามูส์ (Jean...

ข้าวยำ 3 กษัตริย์

อาหารไทยคู่กับไวน์ Chef”s Table ที่..“เฟลอริช”

… “ปรัชญาพื้นฐานของอาหารไทย คนไทยกินอาหารแบบเอารสชาติ (Taste) เป็นหลัก สังเกตได้จากกรรมวิธีการปรุง แกงเผ็ดบางชนิด มีทุกอย่างต้มเคี่ยวอยู่ในหม้อเดียวกัน และมีรสชาติเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด และขม รวมรสกันอยู่ครบครัน” ด้วยปรัชญาดังกล่าวทำให้ “การจับคู่ไวน์กับอาหารไทย” เป็นเรื่องที่แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญไวน์ระดับซือแป๋เรียกอาจารย์ ยังไม่กล้าฟันธงว่าอะไรเข้ากับอะไรเหมือนอาหารยุโรป กระทั่งปัจจุบันก็ยังไม่มีตำราเล่มใดที่ระบุอย่างชัดเจนเป็นการเป็นการว่า ไวน์อะไรเหมาะกับอาหารไทย แม้จะมีความพยายามในการเลือกไวน์ให้เข้าคู่กับอาหารไทยมาโดยตลอด แต่ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารไทยที่ทำเพื่อชาวต่างชาติ มากกว่าจะเป็นอาหารไทยที่คนไทยกินกันอยู่เป็นประจำวัน ที่ผ่านมาวัฒนธรรมการกินดื่มของไทย ไม่ได้เป็นแบบตะวันตกนั่นคือกินอาหารกับไวน์ วิสกี้ บรั่นดี หรือเบียร์ ฯลฯ แต่คนไทยกินอาหารกับเครื่องดื่มแบบ “กับแกล้ม” มากกว่าการ “จับคู่กัน”...

ไวน์ของ Drew Barrymore

“เซเลบ”ระดับโลก บนถนนสายไวน์

เคยนำเสนอเรื่อราวของ “ผู้กำกับภาพยนตร์” ที่หันเหเส้นทางมาทำไวน์ มีทั้งที่ประสบผลสำเร็จไปแล้ว และกำลังรอประสบผลสำเร็จ คราวนี้มาดู “เซเลบ” (Celebrity) ระดับโลกทั้งดาราภาพยนตร์ นักร้อง นักกีฬา เชฟ ฯลฯ ที่ก้าวเข้ามาบนถนนสายไวน์ คนเหล่านี้มีแนวคิดบางอย่างที่ต่างจากนักทำไวน์โดยอาชีพ และอาจจะนำความคิดนั้นมากำหนดรสชาติไวน์ของพวกเขา ผมได้ชิมไวน์ของ “เซเลบ” ดังกล่าวเป็นบางคนเท่านั้น จึงยังไม่สามารถฟันธงลงไปได้ว่าเป็นอย่างที่ว่าหรือไม่ ? เพราะไวน์พวกนี้มักจะไม่อิมพอร์ตเตอร์นำเข้ามาเมืองไทยด้วยสาเหตุ 2 ประการหลัก ๆ คือ ผลิตน้อย และราคาค่อนข้างสูง เริ่มจากพระเอกที่ประสบความสำเร็จที่สุดในเส้นทางสายไวน์ในขณะนี้ ขายดิบขายดี และมีขายในเมืองไทยคือ “แบรด พิตต์” และ”แอนเจลีนา...

John Malkovich b

ผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้เปลี่ยนมากำกับไวน์

“ไวน์และภาพยนตร์ เป็นศิลปะ เป็นชีวิตและจิตใจ” ด้วยเหตุนี้กระมังที่ทำให้ผู้สร้าง ผู้กำกับ ภาพยนตร์หลายคน ก้าวเข้ามาในเส้นทางสายไวน์ ไม่รวมดารา นักแสดง ที่สำคัญบางคนไม่ธรรมดา เพราะทำไวน์ด้วยความชอบของตัวเอง ไม่ได้สนใจการตลาด เรียกว่าบ้าไม่แพ้บทบาทบนจอ จอห์น มัลโควิช หรือ จอห์น กาวิน มัลโควิช (John Gavin Malkovich) คือหนึ่งในจำนวนนั้น เขาเป็นทั้งผู้กำกับ ผู้อำนวยการสร้าง และนักแสดงชาวอเมริกันเชื้อสายโครเอเชีย ที่ปรากฏในภาพยนตร์มากกว่า 70 เรื่อง เช่น Places in the Heart...