Category: Wine & Food

Cascina Nuova 2012

“เอลวีโอ โซโญ ไวน์ ดินเนอร์” การกลับมาของ “สปาสโซ”

ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 20 กว่าปีที่แล้ว ถ้าอยากกินอาหารอิตาเลียนอร่อย ๆ เสร็จแล้วสามารถโยกย้ายส่ายสะโพก โดยไม่ต้องเปลี่ยนสถานที่ ชื่อของ “สปาสโซ” (Spasso) ต้องอยู่ในอันดับต้น ๆ และยังคงยาวนานมาจนถึงปัจจุบันที่ครบรอบ 26 ปีเต็ม ถ้าเปรียบเป็นคนก็กำลังอยู่ในวัยสนุกสนานกับชีวิต สปาสโซ (Spasso) ในภาษาอิตาลีหมายถึง “ความสนุกสนานเพลิดเพลิน” ตั้งอยู่บริเวณล็อบบี้ชั้นล่างของโรงแรม แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ(Grand Hyatt Erawan Bangkok) เปิดบริการครั้งแรกในเดือนมกราคม พ.ศ. 2535 เป็นที่ขึ้นชื่อในเรื่องรสชาติของอาหารอิตาเลียน อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยคนหนึ่งซึ่งตอนนั้นยังไม่ได้เป็นนายกฯชอบมาก ผมไปทุกครั้งส่วนใหญ่จะเจอท่านทุกครั้งหลายท่านก็เลี้ยงอาหารและเครื่องดื่มผมบ่อยๆ...

เมนูพิเศษ

“ชาโต ปีฌอง ลาลองด์” ฉลอง 11 ปี RR&B

โรงแรม แลนด์มาร์ค กรุงเทพฯ จัดรายการพิเศษฉลองครบรอบ 11 ปี ของห้องอาหารริบรูม แอนด์ บาร์ สเต็กเฮ้าส์ (RR&B) ชั้น 31 กับค่ำคืนแห่งไวน์ “ชาโต ปีฌอง ลองกือวิลล์ กอมเตส เดอ ลาลองด์” (Château Pichon Longueville Comtesse de Lalande) สุดยอดไวน์ชั้น 2 ที่คุณภาพไม่แพ้ชั้น 1 พร้อมไวน์อื่น ๆ ที่จับคู่กับเมนูพิเศษจาก 7...

มุมหนึ่งในร้าน

“Taste the Mystery” ความลึกลับของไวน์และอาหาร

“การ์มากาเมต ดินเนอร์”  (Karmakamet Dinner) ร้านอาหารในซอยสุขุมวิท 24 ด้านหลังห้าง The Emporium เป็นร้านอาหารที่ต่อยอดมาจากร้าน Karmakamet Secret World ซึ่งเป็นร้านขายเครื่องหอมนานาชนิด รวมทั้งชาและขนมต่างๆ ภายในร้านตกแต่งสไตล์วินเทจโรแมนติก ประดับด้วยโถหัวเชื้อน้ำหอม พร้อมกลิ่นหอมอบอวล แต่ไม่ทำลายบรรยากาศในการรับประทานอาหารและไวน์ ก่อนหน้านั้นก็ประสบความสำเร็จจากร้านสไตล์คาเฟ่ Everyday Karmakamet ที่สีลมมาแล้ว กลาง ๆ ปี 2516  Karmakamet Dinner ก้าวขึ้นไปอีกขั้นด้วยการจัดไวน์ดินเนอร์เป็นครั้งแรก ร่วมกับบริษัท Fin ผู้นำเข้าไวน์คุณภาพและบูติกไวน์จากทั่วโลก จัดรายการพิเศษและท้าทาย...

Uncle1

“Uncle Moustrache” ผู้กล้าจับคู่ไวน์กับทุเรียน

ในอดีตที่ผ่านมา “อาหารจีนกับไวน์” ในฮ่องกง เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยได้รับความสนใจ เพราะส่วนใหญ่คนฮ่องกงกินอาหารพร้อมเบียร์หรือบรั่นดีมากกว่า คล้าย ๆ คนไทยที่กินอาหารกับวิสกี้หรือเบียร์  ปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนไปมากพอสมควร ฮ่องกงมีร้านอาหารประเภทไฟน์ ไดนิ่งมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะฮ่องกงไม่เก็บภาษีไวน์  เนื่องจากโลกปัจจุบันกว้างไกลมากกว่าการจ้องแต่จะเก็บภาษีอย่างเดียวเหมือนบ้านเรา โดยให้คนกลุ่มเดียวมาอ้างเรื่องปัญหาอาชญากรรมหรือสุขภาพ โดยแกล้งมองไม่เห็นว่าทุกวันนี้ปัญหาอาชญากรรมและสุขภาพของคนไทยทุกวันนี้มาจากอย่างอื่นมากกว่าหลายเท่าตัว กลับมาที่ฮ่องกงเมื่อพูดถึงคนฮ่องกงที่พยายามจะจับคู่ไวน์กับอาหารจีนเป็นคนแรก ๆ ต้องยกให้นายสตีเฟ่น ชัม (Stephen Shum)  เจ้าของฉายา Uncle Moustrache หรือ “ลุงหนวด” ซึ่งในวงการไวน์เขาไม่ธรรมดาเพราะเป็นผู้บริหารไวน์เมอร์รี่ เวล (Merry Vale)  แห่งนาปา แวลลีย์,แคลิฟอร์เนีย และเป็นผู้นำเข้าไวน์ตัวนี้สู่ฮ่องกงแต่เพียงผู้เดียว ...

น้ำจิ้มหรือเครื่องเคียงอาหารไทยเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกไวน์

“การจับคู่ไวน์กับอาหาร” ต้องศึกษาและทำจริง

ในอดีตการจัดงาน “ไวน์ดินเนอร์” มักจะเกิดขึ้นในโรงแรมระดับหรูหราเท่านั้น ปัจจุบันร้านอาหารประเภทไฟน์ ไดนิ่งหรือบริสโทร เปิดมากขึ้น ทำให้ไวน์ดินเนอร์ขยับขยายลงมาตามร้านเหล่านี้มากขึ้น จากการไปไวน์ดินเนอร์ในช่วงหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา น้อยครั้งที่จะสามารถจับคู่ไวน์กับอาหารได้อย่างลงตัว แม้แต่เชฟระดับสุดยอดของโลกก็ตาม ซึ่งก็เข้าใจถึงสาเหตุ นั่นคือข้อจำกัดของไวน์ที่ใช้ในการจับคู่กับอาหาร เป็นไวน์จากผู้นำเข้าที่เป็นสปอนเซอร์ของงานนั้น ๆ “ไวน์ดินเนอร์” จริง ๆ แล้วมีอะไรมากกว่าการทำอาหารแล้วนำไวน์แดงไวน์ขาวหรือสปาร์คกลิ้งมาจับคู่ด้วย  ความสำคัญอยู่ที่…การทำให้อาหารและไวน์ลงตัวกันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้….ซึ่งอาจจะไม่ต้องสมบูรณ์แบบ 100 % อย่างไรก็ตามการจะทำให้อาหารกับไวน์จับคู่กันอย่างลงตัวที่สุด ไม่สามารถทำอย่างอื่นได้ นอกจากต้องศึกษาและลงมือปฏิบัติจริง  ไม่ใช่อ่านจากข้อมูลของไวน์ (Tasting Note) ไวน์ขวดแดงนี้ต้องเสิร์ฟกับ “เนื้อแดง” ก็จับเนื้อวัว ซี่โครงแกะ มากริลล์เป็นสเต็กเลย...

C&W4

“ซิลวิโอ นาร์ดี” อิตาลีต้องคู่อิตาลี

“ไม่มีไวน์ชาติใดจะเข้ากับอาหารอิตาเลียนได้ดีเยี่ยมเท่ากับไวน์อิตาเลียน” คนอิตาเลียนมีความภาคภูมิใจเช่นนั้น และหลังจากมีการพิสูจน์แล้ว ดูจะเป็นเรื่องจริง ในอดีตถ้าพูดถึงตัสคานี (Tuscany) ทุกคนต้องนึกถึงไวน์เคียนติ (Chianti) หลังจากวงจรโลกของไวน์กว้างขวางขึ้น ผู้คนจึงได้รู้ว่าแท้ที่จริงแล้วตัสคานี ยังมีอะไรมากกว่าไวน์เคียนติ หนึ่งในจำนวนนั้นคือมอนตาลซิโน (Montalcino) ตำบลทางใต้ของเมืองซิเอนา (Siena) เป็นแหล่งผลิตไวน์คุณภาพเยี่ยม และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ชื่อ บรูเนลโล ดิ มอนตาลชิโน (Brunello di Montalcino) ทำจากองุ่นซานโจเวเซ กรอสโซ (Sangiovese Grosso) ที่โคลนมาจากซานโจเวเซ (Sangiovese) เตนูเต ซิลวิโอ นาร์ดี (Tenute Silvio...

Oreno 2004

“Oreno” กับเมนูลงตัวที่ Lenzi

“ซูเปอร์ ทัสกัน” หรือ “ซูเปอร์ ทุสกัน” (Super Tuscans) ซึ่งเพิ่งเป็นที่รู้จักในบ้านเราไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความหมายโดยหลัก ๆ คือไวน์อิตาลีที่ผลิตในแคว้นทัสกานี (Tuscany) ในช่วงทศวรรษที่ 50 ในสไตล์ไวน์บอร์กโดซ์ (Bordeaux) ใช้องุ่นสายพันธุ์คลาสสิคจากฝรั่งเศสที่นำมาปลูกในประเทศอิตาลี เตนูตา เซตเต ปอนติ (Tenuta Sette Ponti) แห่งตำบลกาสติโญน ฟิบ็อคคี (Comune di Castiglion Fibocchi) เป็นหนึ่งในผู้ผลิตไวน์ Super Tuscan ระดับคุณภาพเจ้าหนึ่งในทัสกานี ตั้งอยู่ใจกลางของเคียนติ (Chianti) ดินแดนแห่งประวัติศาสตร์แห่งการทำไวน์ของแคว้นทัสคานี (Tuscany)...

Cheese & Wine

“ไวน์กับชีส” เนื้อคู่สุดแคลซสิค

  “Comment voulez-vous gouverner un pays qui a deux cent quarante-six variétés de fromage?” ชาร์ล เดอ โกลล์ (Charles de Gaulle) อดีตประธานาธิบดีฝรั่งเศส กล่าวประโยคทองไว้ในปี 1962 ที่คนทำชีสปลื้มกันนักหนา แปลเป็นภาษาอังกฤษก็คือ “How can you govern a country which has two...

Schweizer Rohmilch Emmentaler ของ Gerard Sinnesberger

“Swiss Cheese” Cheese of the World

“Swiss Emmentaler Wins World Championship Award 2014” รางวัลล่าสุดที่ตอกย้ำความยิ่งใหญ่ให้กับ Swiss Cheese จึงไม่ต้องแปลกใจว่า ทำไม Swiss Cheese จึงครองใจคนทั่วโลก งาน World Championship Cheese Contest 2014 ที่รัฐวิสคอนซินสหรัฐอเมริกา เมื่อปลายปี 2014  นับเป็นครั้งที่ 4 ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ที่ชีสจากสวิตเซอร์แลนด์ได้รางวัลชนะเลิศ โดยชีสสูตรดั้งเดิมชื่อ Schweizer Rohmilch Emmentaler...

Grilled Opaka paka

“เซคริด ฮิลล์” จับคู่เมนูเปรูเวียนที่ 22 Kitchen

ปี 1986 เดวิดและมาร์ค เมสัน (David & Mark Mason) 2 พี่น้องเจ้าของฟาร์ม พร้อมด้วยโทนี บิช (Tony Bish) ซึ่งเป็นทั้งเพื่อนและไวน์เมกเกอร์ยอดฝีมือคนหนึ่งของนิว ซีแลนด์ นั่งจับเข่าคุยกันว่าอยากจะผลิตไวน์ระดับคุณภาพที่ดื่มง่าย ๆ สามารถดื่มกับครอบครัวและเพื่อนฝูง รวมทั้งดื่มกับอาหารได้หลากหลาย หลังจากนั้นไวน์ “เซคริด ฮิลล์” (Sacred Hill) จึงเกิดขึ้น ณ ปูเกตาปู (Puketapu) ซึ่งในภาษาเมารี (Maori) หมายถึงเนินเขาแห่งความศักดิ์สิทธิ์ เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ...