เมลเบิร์น (Melbourne) เป็นเมืองหลวงของรัฐวิคทอเรีย (Victoria) เป็น 1 ใน 7 รัฐสำคัญของการปลูกองุ่นผลิตไวน์ของออสเตรเลีย เริ่มปลูกองุ่นครั้งแรกเมื่อปี 1830 ที่ยาร์รา แวลลีย์ (Yarra Valley) อยู่ห่างจากเมลเบิร์นไปทางตะวันออกประมาณ 50 กิโลเมตร เป็นแหล่งผลิตไวน์จากอากาศเย็นที่คุณภาพระดับโลก
ท่านที่เดินทางไปเมลเบิร์นหลังจากขอปปิ้งหรือทำภารกิจต่าง ๆ เสร็จแล้วยังพอมีเวลา ขอแนะให้ไปเยือน Yarra Valley สักครั้ง โดยเฉพาะคนรักไวน์ ที่นี่เป็นแหล่งผลิตไวน์แดงจากองุ่นปิโนต์ นัวร์และสปาร์กลิ้งไวน์ที่ดีที่สุดของออสเตรเลีย แน่นอนถ้าเบื่อบรรยากาศในเมืองหใญ่ ใน Yarra Valley ก็มีโรงแรมและรีสอร์ทไว้ในเลือกนอนสัมผัสกลิ่นอายของธรรมชาติได้อย่างเต็มที่
Yarra Valley มีไร่องุ่นที่เปิดให้นักท่องเที่ยวและคนรักไวน์เข้าไปชิมไวน์กว่า 40 แห่ง ตั้งแต่ขนาดเล็กแบบครอบครัวทำกันเอง ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงระดับโลก สามารถขับรถไปตามเส้นทางไวน์สายใดสายหนึ่ง เพื่อแวะชมและชิมไวน์ในไร่องุ่นต่าง ๆ แต่ถ้าไม่สะดวกขับรถก็สามารถเลือกเลือกซื้อทัวร์ก็ได้ ซึ่งมีให้เลือกมากมายทั้งพาชิมอาหารและไวน์ ชมไร่องุ่นบนรถเทียมม้าสายพันธุ์สก๊อต นั่งรถเชฟโรเล็ตเปิดประทุน หรือลีมูซีนพร้อมคนขับ (Limo Wine Tours) รวมทั้งนั่งเฮลิคอปเตอร์หรือบอลลูนร่อนเหนือผืนป่า และไร่องุ่น
ถ้าไปช่วงเดือนเมษายนไวนะรี่ต่าง ๆ จะส่งเชฟจากร้านอาหารของตนเองมาโชว์ฝีมือในงานจัดเลี้ยง ที่มีการแสดงดนตรีในเทศกาล Yarra Valley Grape Grazing หลายคนอาจะยังไม่รู้ว่าแถวนี้มีอาหารนานาชนิด เช่น ปลาแซลมอนน้ำจืด ปลาเทร้าต์ และไข่ปลาคาเวียร์ ไอศกรีม ถั่วเฮเซลนัท เกาลัด ผลไม้ เช่น เบอร์รี และผักพืชต่าง ๆ เนยแข็งแบบโฮมเมด เส้นพาสต้า และแยมต่าง ๆ ที่สามารถเลือกซื้อได้ตลอดเส้นทาง Yarra Valley Regional Food Trail หรือตามตลาดสดขนาดใหญ่หลายแห่ง
เมื่อมา Yarra Valley แล้วถ้าไม่ได้แวะไป ดอแมน ชองดอง (Domaine Chandon) ถือว่ายังไม่ถึงหุบเขายาร์ราอย่างแท้จริง เพราะนี่คือหนึ่งในไวนะรีที่ผลิตสปาร์คกลิ้งไวน์คุณภาพระดับโลก สร้างชื่อเสียงให้กับออสเตรเลียเป็นอย่างมาก โดย Domaine Chandon ตั้งอยู่ใจกลาง Yarra Valley จากตัวเมืองเมลเบิร์นประมาณ 150 กิโลเมตร เป็นการร่วมลงทุนระหว่างกรีน พอยต์ (Green Point) ของออสเตรเลีย กับโมเอต์ เอต์ ชองดอง (Moet et Chandon) ยักษ์ใหญ่ชองปาญจากฝรั่งเศส ตามโครงการขยายอาณาจักรของ Moet et Chandon ในช่วงทศวรรษ 1960 เป็นต้นมา โดยโมเอต์ฯใช้ภูมิปัญญาในการผลิตชองปาญมาผลิตสปาร์คกลิ้งภายใต้ชื่อ “Chandon” เป็นหลัก ส่วน Green Point เน้นไวน์ขาว ไวน์แดง และโรเซ่ ปัจจุบันกลายเป็น Domaine Chandon ผลิตไวน์ภายใต้ชื่อ Chandon เท่านั้น
สาเหตุที่ Moet et Chandon เลือกไร่กรีนพอยต์ในยาร์รา แวลลีย์ เนื่องจากมีการวิเคราะห์แล้วว่า สภาพดินฟ้าอากาศ (Terroir) เหมาะสมอย่างยิ่งในการปลูกองุ่นสำหรับทำสปาร์คกลิ้งไวน์นั่นคือ ชาร์โดห์เนย์ (Chardonnay) ปิโนต์ นัวร์ (Pinot Noir) และปิโนต์ มูนิเยร์ (Pinot Meunier) ขณะเดียวกันก็มีแหล่งองุ่นจากเขตอื่น ๆ เช่น Macedon Ranges และ King Valley ใน Victoria ด้วยกัน,Coal River Valley ใน Tasmania และใน Coonawarra รัฐ South Australia เป็นต้น
เมื่อกลางเดือนพฤษภาคมนี้บริษัท ดิอาจิโอ โมเอ็ท เฮนเนสซี (ประเทศไทย จำกัด (Diageo Moet Hennessy (Thailand) Ltd.) ผู้นำเข้า Chandon ได้นำเจ้าหน้าที่โรงแรม ร้านอาหาร และสื่อมวลชนจำนวนหนึ่ง เดินทางไปพิสูจน์ความเป็นมืออาชีพ ความอลังการและรสชาติของ Chandon ถึงก้นเซลลาร์
Domaine Chandon ผลิตสปาร์คกลิ้งด้วยกรรมวิธีเดียวกับ Moet et Chandon ในฝรั่งเศส แต่ตามกฏหมายไม่สามารถใช้ชื่อ Champagne ได้ ดังนั้นในฉลากข้างขวดจึงใช้คำว่า Methode Traditionnelle หมายถึง “ผลิตด้วยกรรมวิธี หรือกระบวนการเดียวกับแชมเปญ”
โรงหมักไวน์ของ Domaine Chandon ออสเตรเลียจะอยู่ด้านหนึ่งของอาคารที่ทำการ ซึ่งเต็มไปด้วยถังสแตนเลสและถังโอค สามารถยืนดูกรรมวิธีการผลิตบางส่วนจากด้านบนได้ อีกด้านหนึ่งเป็นสถานที่เก็บสปาร์คกลิ้งไวน์ทั้งที่หมักครั้งแรกและครั้งที่สอง เหมือนกับที่บริษัทแม่ในแคว้นชองปาญ เดินทะลุออกมาก็จะเป็นร้านขายผลิตภัณฑ์ Chandon ทุกอย่างทั้งสปาร์คกลิ้ง ไวน์ขาว ไวน์แดง โรเซ และไวน์หวาน น้ำมันมะกอก ของที่ระลึก อุปกรณ์ต่าง ๆ หนังสือ และขนมนานาชนิด
อย่างไรก็ตามที่เป็นไฮไลท์ และพลาดไม่ได้คือการเข้าไปนั่งจิบไวน์กับอาหารในห้องอาหาร Green Point Room เป็นห้องติดกระจกใสทรงสูง ถ้าสภาพอากาศดี ๆ จะสามารถมองเห็นความงดงามของไร่องุ่น ภูเขา ทุ่งสีเขียว และพระอาทิตย์ ได้อย่างชัดเจน ดังนั้นวันหยุดสุดสัปดาห์จึงมีลูกค้าเนืองแน่นแทบทั้งวัน
ในเมืองไทยผู้นำเข้าบริษัท ดิอาจิโอฯ