“ไรน์ไฮท์สเกอบอท 1516″ (Reinheitsgebot 1516)

“ไรน์ไฮท์สเกอบอท 1516″ (Reinheitsgebot 1516) หรือ “German Beer Purity Law 1516” ในภาษาอังกฤษ เป็นกฎควบคุมการผลิตเบียร์ของแคว้นบาวาเรีย จึงมีหลายคนเรียกว่า “Bavaria Purity Law” โดย Duke Wilhelm IV แห่งบาวาเรียน เป็นผู้ร่างขึ้น
…จุดประสงค์ในเวลานั้นคือต้องการควบคุมการผลิตและการค้าขนมปังของแคว้นบาวาเรียน เพื่อบังคับการผลิตขนมปังต้องใช้ส่วนผสมตามที่กำหนดอันจะส่งผลดีต่อคุณภาพของขนมปัง ต่อมามีการนำวัตถุดิบที่ใช้ทำขนมปัง ไปเป็นส่วนหนึ่งของการทำเบียร์ จึงปรับปรุงนำเอากฎ Reinheitsgebot มาควบคุมส่วนผสมในการผลิตเบียร์ด้วย…สมัยโบราณถือว่า “เบียร์” คือ “ขนมปังเหลว” เพราะคุณค่าทางโภชนาการคล้ายกัน

เมื่อปี 2016 มีการออกแสตมป์ครบรอบ 500 ปี Reinheitsgebot 1516

ปี 1871 แว่นแคว้นต่างๆ ถูกหลอมรวมเป็นประเทศเยอรมัน ขณะที่แคว้นบาวาเรียซึ่งเป็นแคว้นใหญ่ บอกว่าได้ไม่มีปัญหา แต่ขอให้นำกฎ “ไรน์ไฮท์สเกอบอท 1516″ (Reinheitsgebot 1516) หรือ “German Beer Purity Law 1516” ไปใช้ด้วย เพราะต้องการรักษาวัฒนธรรมการผลิตเบียร์ที่ถูกต้องไว้ และมีผลเกี่ยวเนื่องถึงการเก็บภาษีเบียร์

อย่างไรก็ตาม Reinheitsgebot 1516 สร้างความไม่พอใจให้กับผู้ผลิตเบียร์ในแคว้นอื่น ๆ เนื่องจากผู้ผลิตหลายรายใช้วัตถุดิบนอกเหนือจากกฎดังกล่าว (ที่กำหนดให้การทำเบียร์ต้องใช้ส่วนผสม 3 ชนิด คือน้ำ มอลต์ และฮอพส์) เช่น น้ำตาล,ผลไม้บางอย่าง และข้าวสาลี ถ้าฝ่าฝืนจะถูกห้ามใช้คำว่า “เบียร์” ขณะเดียวกันก็มีการยุยงปลุกปั่นเรื่องการกีดกันทางการค้าด้วย

ความไม่พอใจนี้ถูกเก็บกดและครุกรุ่นเรื่อยมา….

เดือนมีนาคม 1987 ศาลแห่งยุโรป (European Court of Justice) มีคำสั่งให้ยกเลิกกฎ “ไรน์ไฮท์สเกอบอท 1516″ (Reinheitsgebot 1516) หรือ “German Beer Purity Law 1516” ออกจากกฎหมายเบียร์ประเทศเยอรมัน เพราะถือเป็นการกีดกันทางการค้า เนื่องจากผู้ผลิตเบียร์ในหลายประเทศ ใช้ส่วนผสมที่ไม่เป็นไปตามกฎการผลิตเบียร์ดังกล่าว จึงไม่อาจเรียกว่า “เบียร์” ได้

อย่างไรก็ตามผู้ผลิตในเยอรมันยังคงยืดกฎ “ไรน์ไฮท์สเกอบอท 1516″ (Reinheitsgebot 1516) อย่างเหนียวแน่น

ปี 1990 มีการรวมเยอรมันตะวันตกกับตะวันออกเป็นชาติเดียวกัน พร้อมกับเกิด “สงครามเบียร์บรันเดนบวร์ก” (The Brandenburg Beer War) เป็นสงครามฟองเบียร์ ที่เกิดจาก Neuzeller Kloster Brewery ผู้ผลิตเบียร์ในเยอรมันตะวันออก ทำดำที่เติมน้ำตาลลงไปด้วย จึงถูกห้ามขาย

ภายหลังมีการอนุญาตให้ขายได้ภายใต้ชื่อ “Schwarzer Abt” (Black Abbot) ยังไม่สามารถใช้คำว่า “เบียร์” ได้ และถูกมองว่าเป็นการกีดกันทางการค้า มีการร้องเรียนไปยังศาลปกครอง (Federal Administrative Court of Germany) และศาลตัดสินให้ใช้คำว่า “เบียร์” ได้

b9 b10 b11 b2 b3 b4 b5 b6 b7 b8ปัจจุบัน “ไรน์ไฮท์สเกอบอท 1516″ (Reinheitsgebot 1516) หรือ “German Beer Purity Law 1516” เลิกใช้แล้วเพราะผู้ผลิตเบียร์มีการใช้วัตถุดิบนอกเหนือจากที่กำหนด ขณะที่ผู้ผลิตเบียร์สไตล์ “ลาเกอร์” (Lager) ทั้งในประเทศเยอรมันและทั่วโลก ยังคงยืดถือและปฏิบัติตามกฎ Reinheitsgebot 1516 ในการผลิตเบียร์ พร้อมกับนำเอาจุดเด่นของ Reinheitsgebot 1516 ไปช่วยในด้านการตลาด เพราะนักดื่มทั่วโลกยังต้องการดื่มเบียร์สูตรเยอรมันแท้ ๆ เบียร์เหล่านี้จึงมีข้อความที่บ่งบอกว่า “ผลิตภายใต้กฎ Reinheitsgebot 1516″ ระบุไว้ในฉลากด้วย

Thawatchai Tappitak

ธวัชชัย เทพพิทักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวน์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่าง ๆ รวมทั้งด้านอาหาร เคยเดินทางไปทำไวน์ในยุโรป 5 ปีครึ่ง จึงนำประสบการณ์ด้านดังกล่าวมาถ่ายทอดสู่แวดวงที่เกี่ยวข้อง นานกว่า 20 ปี เป็นกรรมการตัดสินไวน์ บาร์เทนเดอร์ ฯลฯ ปัจจุบันเป็นคอลัมนิสต์ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และนิตยสาร เช่น Thailand Restaurant News,GQ,Gastrogsm ฯลฯ นอกจากนั้นยังสอนไวน์ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย ------------- ข้อมูลบทความ/ภาพ/วิดีโอ ในเว็บไซต์ ThatwatchaiGURU.com เป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียน การนำไปเผยแพร่ไม่ว่าในรูปแบบใดๆ (นอกจากการแชร์) ต้องได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ----------- ติดต่อ: ThawatchaiGURU@at-Bangkok.com

You may also like...