Thawatchai Tappitak's Official Site

ไมเคิล มอนดาวี

“ไมเคิล มอนดาวี” ผู้ปิดทองหลังพระ

เรื่องราวความยิ่งใหญ่ของ “โรเบิร์ต มอนดาวี” (Robert Mondavi / 1913-2008) กับวงการไวน์แคลิฟอร์เนียตลอดจนแวดวงไวน์โลกนั้นคงเป็นที่เล่าขานกันอีกนานไม่มีวันจบ โรเบิร์ต มอนดาวี มีทายาท 3 คนคือไมเคิล มอนดาวี (Michael Mondavi) มาร์เซีย มอนดาวี (Marcia Mondavi) และทิม มอนดาวี (Tim Mondavi) เป็นลูกที่เกิดกับภรรยาคนแรกคือมาร์โฌรี เอลเลน (Marjorie Ellen) ส่วนภรรยาคนที่สองไม่มีทายาทด้วยกัน แต่ละคนล้วนสืบสานตำนานความยิ่งใหญ่ของพ่อในบทบาทที่ต่างกันออกไป ทิม มอนดาวี ลูกชายคนเล็กนั้น ส่วนใหญ่ผู้คนจะคุ้นกันมากที่สุด...

องุ่นที่ถูกผึ่งลมในโรงเรือน

“อะมาโรเน” ไวน์หมัดหนักด้วยกรรมวิธีพิเศษ

ไม่รู้เกิดอะไรขึ้นในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา มีคนดื่มไวน์รุ่นใหม่ ๆ มาสอบถามถึงเรื่องไวน์ “อะมาโรเน” (Amarone) ค่อนข้างเยอะ หรือว่าคนรุ่นใหม่ชอบไวน์หมัดหนัก ? “อะมาโรเน” มีถิ่นกำเนิดอยู่ในคอมมูนวัลโปลิเซลา (Valpolicello) ในแคว้นเวเนโต (Veneto) ทางอีสานของอิตาลี ซึ่งผลิตไวน์ได้เป็นอันดับ 3 ของอิตาลี ประกอบด้วย 6 จังหวัดหนึ่งในนั้นคือเวโรนา (Verona) บ้านเกิดของ “อะมาโรเน” ซึ่งที่ผ่านมาได้เกรด DOC แต่หลังจากวินเทจ 2010 เป็นต้นไปจะเป็น DOCG ซึ่งถือว่าสูงสุด “เวโรนา”...

ฮานามิซาเกะ

ฮานามิสาเกะ” จิบสาเกชมซากุระบาน

“คนญี่ปุ่นดื่มสาเกเพื่อการเฉลิมฉลอง และดื่มได้ทุกเทศกาลตลอดทั้งปี” เป็นหนึ่งในคำกล่าวที่ยืนยันว่า “สาเก” (Sake) กับคนญี่ปุ่น เป็นมากกว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สาเกเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน เป็นประวัติศาสตร์ เป็นวัฒนธรรมและสังคม ของชาวญี่ปุ่นและประเทศญี่ปุ่น หลังจากผ่านกระบวนการที่สืบสานกันมาหลายพันปี ทั้ง 12 เดือนในญี่ปุ่นมีเทศกลางต่าง ๆ และต้องมีสาเกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ สำหรับเดือนมีนาคมมีเทศกาล “โทคะฉุ” (Toukashu) หรือ “เทศกาลลูกท้อ” ตรงกับวันที่ 3 เดือน 3 ซึ่งเป็นช่วงที่ลูกท้อกำลังให้ผลผลิตดี มีการนำลูกท้อมาแช่ในสาเก จากการที่ตัวเลขของวันที่และเดือนเป็นเลขเดียวกันและเป็นวันทรงพลังของเทพเจ้า คนญี่ปุ่นเชื่อว่าเมื่อได้ดื่มโทคะฉุแล้ว จะช่วยปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย ผิวพรรณผ่องใส หน้าตาสดชื่น ปราศจกโรคภัยใด...

ข้าวแช่กับไวน์ขาว

เปิดประสบการณ์ใหม่ จับคู่“ข้าวแช่กับไวน์ขาว”

ช่วงหน้าร้อนตั้งแต่ปลายมีนาคมไปจนถึงสิ้นเดือนเมษายน อาหารการกินอย่างหนึ่งที่ถูกนำมาโปรโมทขายกันก็คือ “ข้าวแช่” ซึ่งเชื่อกันว่าช่วยคลายร้อนได้ดี มีหลายสูตร หลายตำรับ หลายสำนัก ช่วงปลายเดือนมีนาคมดังกล่าวผมมีเพื่อนมาจากเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย และกำลังจะเดินทางกลับ ก็เลยต้องหาอะไรที่เป็นไทย ๆ เลี้ยงเขาเสียหน่อย ตัดสินใจเลือกอาหารไทยและ “ข้าวแช่” เพราะส่วนใหญ่มีขายแค่สิ้นเดือนเมษายน พลาดครั้งนี้ก็ต้องรอปีหน้าหรือปีต่อๆ ไป ตรวจสอบและสอบถามแทบทุกแห่งยังไม่มีที่ไหนขาย ไปเจออยู่ที่เดียวคือโรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์ กรุงเทพฯ ถนนรัชดา ซึ่งเขาบอกว่าเป็น “ข้าวแช่ชาววัง” แถมราคายังไม่แพง จึงตัดสินใจไปที่นี่ โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์ กรุงเทพฯ ถนนรัชดา เมื่อประมาณ...

โจ เบบิช

“เบบิช” โครเอเชียในแดนกีวี

คนไทยรู้จักประเทศ “โครเอเชีย” (Croatia) มากที่สุดน่าจะเป็นฟุตบอล โดยเฉพาะฟุตบอลโลก 2018 ที่หักปากกาเซียนเข้าไปถึงรอบชิงชนะเลิศและได้รองแชมป์โลกกลับบ้านให้ชาวโครแอต 4 ล้านคนได้เฉลิมฉลอง ล่าสุดในฟุตบอลโลก 2022 ที่กาตาร์ก็ได้ที่ 3 ผู้คนส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่าคนโครเอเชียนั้นเป็นยอดฝีมือในการปรุงไวน์ไม่แพ้คนฝรั่งเศส อิตาลี สเปน และเยอรมัน ฯลฯ แต่ที่ผ่านมาการตกอยู่ในเงื้อมเงาสังคมนิยม ทำให้บางส่วนต้องอพยพไปอยู่ในประเทศโลกต่าง ๆ หลังประกาศอิสรภาพในปี 1991 พวกเขาจึงทำให้ชาวโลกตะลึง ถ้าลองไล่เรียงไวน์คุณภาพระดับโลกในหลาย ๆ ภูมิภาค ล้วนมีผู้ก่อตั้งหรือไวน์เมกเกอร์เป็นชาวโครเอเชีย หนึ่งในจำนวนนั้นก็คือ “เบบิช” (Babich) แห่งนิว ซีแลนด์ซึ่งถูกนำเข้ามาเมืองไทยครั้งแรกกว่า 20...

3

ฌอง มิเลช กาซส์ “พ่อมดวงการไวน์บอร์โดซ์”ผู้จากไป

“Jean Michel Cazes,Revered Winemaker Behind Chateau Lynch Bages Died at 88…” เป็นข่าวใหญ่ในสื่อและแวดวงไวน์เมืองบอร์กโดซ์ ประเทศฝรั่งเศส !! “ฌอง มิเลช กาซส์ (Jean Michel Cazes) ไวน์เมกเกอร์ผู้อยู่เบื้องหลัง และเจ้าของชาโต ลีนช์ บาจส์ (Château Lynch-Bages) เสียชีวิตด้วยวัย 88 ปี” ฌอง มิเลช กาซส์ เป็นยิ่งกว่าเจ้าของชาโต ลีนช์...

มาริโอ ปิซซินี ในไร่องุ่น

“ปิซซินี” สีสันแห่งทัสกานีที่ไม่เคยหยุดยั้ง

ผู้ผลิตไวน์ “เคียนติ” (Chianti) ในแคว้นทัสกานี (Tuscany) แหล่งทำไวน์ชื่อดังของประเทศอิตาลี ปัจจุบันเหลือที่ยังดำเนินกิจการด้วยครอบครัวเต็ม 100% ไม่มากแล้ว หลายรายขายกิจการอกไป บางรายมีคนนอกตระกูลเข้ามาถือหุ้น อย่างไรก็ตามนั่นเป็นไปตามยุคสมัย และไม่ใช่เกิดในแคว้นทัสกานีเท่านั้น แต่เป็นในทุกแคว้นของอิตาลี ที่สำคัญเกิดขึ้นในทุกประเทศ สาเหตุหลักเกิดจากสภาพเศรษฐกิจ และทายาทรุ่นใหม่ ๆ ที่ใม่มีใจในการสืบทอดกิจการของครอบครัว เพราะการทำไวน์นั้นไม่ได้สบาย หนึ่งในตระกูลในเคียนติที่ยังยึดมั่นในการทำไวน์แบบครอบครัวโดยไม่เคยให้ใครมาหุ้นหรือขายกิจการเลยคือตระกูล “ปิซซินี” (Piccini) ซึ่งทำไวน์มาถึงทายาทรุ่นที่ 5 -6 หรือเกือบ 150 ปี ไม่ธรรมดาเลย !! กองบัญชาการของ “ปิซซินี” (Piccini)...

Montes Winery

ชิมไวน์”มอนเตส” จากงาน Vinexpo Asia 2023

ชิลี (Chile) เป็นชาติผู้ผลิตไวน์โลกใหม่ แต่เก่าแก่ที่สุดในจำนวนโลกใหม่ด้วยกัน ผลิตไวน์มาประมาณ 500 ปี ซึ่งนานกว่าการทำไวน์ในแคลิฟอร์เนียของสหรัฐฯ ถึง 300 ปี และเก่ากว่าไวน์ของออสเตรเลียประมาณ 200 ปี ชิลีเป็นหนึ่งในชาติผลิตไวน์ที่มีองค์ประกอบ “สามเหลี่ยมแห่งความสมบูรณ์ลงตัวของการผลิตไวน์” ซึ่งมีอยู่ในชาติที่ผลิตไวน์ดีของโลก เช่น ฝรั่งเศส อิตาลี ออสเตรเลีย และแคลิฟอร์เนีย องค์ประกอบ 3 ประการดังกล่าวคือสภาพภูมิอากาศ (Climate) ชั้นดิน (Soil) และพันธุ์องุ่น (Grape Varieties) ทุกอย่างลงตัว นอกจากผู้ผลิตไวน์เก่าแก่อายุกว่า 100...

วีญา ตาราปากา

“ตาราปากา” ไวน์ชิลีเก่าแก่คู่ตลาดเมืองไทย

ไวน์ชิลี (Chilean Wine) ถูกนำเข้ามาเมืองไทยยุคแรก ๆ น่าจะกว่า 30 ปีที่แล้ว ตอนนั้นมีไม่กี่ยี่ห้อ มาเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เป็นระยะ ๆ ในช่วงประมาณ 15 ปีที่ผ่านมา ทุกวันนี้ว่ากันว่ามีไวน์ชิลีอยู่ในตลาดเมืองไทยกว่า 150 ยี่ห้อ ด้วยจุดเด่นด้านคุณภาพที่ดี และราคาที่ย่อมเยา ทำให้รับความนิยมจากคอไวน์ โดยเฉพาะมือใหม่และระดับกลาง ๆ ที่สู้ราคาไวน์ยุโรปหรือโลกใหม่บางชาติไม่ไหว “วีญา ตาราปากา” (Viña Tarapacá) ก็เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น ที่ถูกนำเข้าเมืองไทยครั้งแรกน่าจะประมาณเกือบ 30 ปี เป็นหนึ่งไวน์ชิลีที่ถูกนำเข้าเมืองไทยยุคแรก...

Dourthe แห่งบอร์กโดซ์

“ดูร์ธ”แห่งบอร์กโดซ์ ผู้ทำไวน์มาเกือบ 200 ปี

การค้าขายไวน์บอร์กโดซ์ (Bordeaux) เมกกะแห่งไวน์ของฝรั่งเศสนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งเจ้าของทำเอง ซึ่งปัจจุบันเริ่มจะลดน้อยลงเนื่องจากกระบวนการต่าง ๆ มีความซับซ้อนมากขึ้น ค่าใช้จ่ายมากขึ้น ฯลฯ ทำให้รูปแบบที่สองเกิดตามคือขายผ่านพ่อค้าคนกลาง (Négociant) เป็นวิธีที่สะดวกสบาย อาจจะกำไรลดน้อยหน่อยแต่ผู้ผลิตหลายๆ ก็เลือกใช้วิธีนี้ “กลุ่มพ่อค้าคนกลาง” ส่วนใหญ่ไม่มีชาโตผลิตไวน์เป็นของตัวเอง ใช้วิธีซื้อองุ่นหรือน้ำไวน์จากเกษตรกรมาทำไวน์ยี่ห้อของตนเอง หลังจากทำธุรกิจนี้ได้ระยะหนึ่ง รายที่มีผลกำไรงดงาม ก็เริ่มซื้อไร่องุ่น ซื้อชาโตไวน์ขนาดเล็ก ๆ สะสมไว้ จากวันนั้นจนถึงบัดนี้เป็นเวลาร้อย ๆ ปี หลายรายกลายเป็นเจ้าของชาโตไวน์ที่มีชื่อเสียง และไวน์ระดับกรองด์ครู ต่าง ๆ “ดูร์ธ” (Dourthe) ก็คือหนึ่งในจำนวนนั้น ก่อตั้งในปี...

รัม บาร์

“จาเมกา รัม” หอมอบอวลจากชาวเกาะ

…“จาเมกา” (Jamaica) ที่บ้านเราเรียกกันว่า “จาไมกา” เป็นประเทศที่เป็นเกาะในภูมิภาคเกรตเตอร์แอนทิลลีส ตั้งอยู่ในทะเลแคริบเบียน เกาะยาว 240 กิโลเมตร กว้าง 85 กิโลเมตร อยู่ทางใต้ของเกาะคิวบา 150 กิโลเมตร ไป และ 180 กิโลเมตร มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากเกาะคิวบาและเกาะฮิสปันโยลา ชื่อประเทศ “จาเมกา” มาจากการเรียกขานของชนพื้นเมืองตาอีโน (Taíno) ที่เรียกเกาะนี้ว่า “ฌาเมคา” (Xaymaca) ซึ่งแปลได้เป็น 2 ความหมายคือ “ดินแดนแห่งใบไม้ผลิ” หรือ...

Förthof Ried Steiner Pfaffenberg Kremstal DAC Reserve Riesling 2021

Förthof Ried Steiner Pfaffenberg Kremstal DAC Reserve Riesling 2021

…เฟือร์ธอฟ รีด สไตเนอร์ พัฟเฟนแบร์ก เครมส์ตัล ดีเอซี รีเซิร์ฟ รีสลิ่ง 2021 () : รีสลิ่งจากเขตเครมส์ตัลริมแม่น้ำดานูบ อยู่เหนือกรุงเวียนนาเมืองหลวงของออสเตรีย ประมาณ 70 กว่ากิโลเมตร ทำจากรีสลิ่ง ซิงเกิ้ล วินเยิร์ด จากไร่ Pfaffenberg 100% …สีเหลืองทอง สดใส หอมกลิ่นผลไม้ แพร์ แอปริคอต ซีททรัส สับปะรด กูสเบอร์รี ฝรั่งสุกกรุ่น ๆ มิเนอรัล สไปซี...

รีสลิ่ง2

รีสลิ่ง

…”รีสลิ่ง” (Riesling) หนึ่งในองุ่นเขียวที่ยิ่งใหญ่ของเยอรมนีและของโลก กำเนิดบริเวณลุ่มน้ำไรน์ (Rhine Region) ในเยอรมนี …”รีสลิ่ง” ได้ชื่อว่าเป็นองุ่นเขียวที่สะท้อนแตร์ฮรัวร์ (Terrior) ของแต่ละพื้นที่ได้ดีที่สุดพันธุ์หนึ่ง ส่วนจะมีอะไรมากน้อยเพียงใด ? ขึ้นอยู่กับปัจจัยอีกหลายอย่าง ที่ส่งเสริมให้องุ่นเติบใหญ่ให้ผลผลิต …”รีสลิ่ง” เป็นองุ่นที่มีความเป็นมาอันยาวนาน ตั้งแต่ศตวรรษที่ 14-15 กระทั่งวันนี้กลายเป็นองุ่นประจำชาติเยอรมนี และมีให้เลือกมากกว่า 60 โคลน ถูกนำไปปลูกในหลายประเทศทั่วโลก และมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น Rheinriesling,Johannisberger,White Riesling และ Johannisberg Riesling …ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่าในโลกนี้มี...

กาลูอารุ่มต่าง ๆ

“กาลูอา” ศาสตร์แห่งเหล้ากับกาแฟ

เมืองไทยในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา “กาแฟ” เข้ามามีบทบาทกับสังคมไทยในหลาย ๆ ด้าน นอกเหนือจากการดื่มในชีวิตประจำวันอย่างแต่ก่อน เรียกว่ามีหลายมิติมากขึ้น หนึ่งในจำนวนนั้นคือการผสมผสานกาแฟกับแอลกอฮอล์ ซึ่งมีความพยายามมาหลายปีแล้ว แต่ยังไม่สามารถทำได้เพราะกฎหมายไม่อนุญาต จากการที่เป็นกรรมการคัดเลือก OTOP ประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาแต่แรกเริ่ม มีผู้ทดลองทำและนำมาชิมโดยตลอดและหลายรายทำได้ดีมาก พูดถึงการผสมผสาน “กาแฟกับแอลกอฮอล์” ประเทศที่ทำได้ดีและโกยเงินเข้าประเทศปีละมหาศาลก็ต้องเป็นเม็กซิโก ชาติที่มีอารยะธรรมเก่าแก่ชาติหนึ่งของโลก ที่มีมรดกตกทอดที่หลากหลาย หนึ่งในจำนวนนั้นก็คือวัฒนธรรมด้านเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เมื่อพูดถึงเม็กซิโกส่วนใหญ่จะนึกถึง “เตกีลา” (Tequila) เหล้าขาวดีกรีแรงเป็นอันดับแรก น้อยคนนักจะคิดถึง “กาลูอา” (Kahlúa) เหล้าที่ผสมผสาน“กาแฟกับแอลกอฮอล์” ได้อย่างลงตัว และศักดิ์ศรีไม่ได้เป็นรองเตกีลา และในบ้านเราเรียกกันว่า “คาห์ลัว”...

Qvevri

ไวน์จอร์เจีย “ไวน์ที่โลกลืม”

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมได้รับเชิญไปพูดเรื่องไวน์ให้กับหน่วยงานหนึ่ง มีหัวข้อหนึ่งซึ่งมีการถกเถียงกันคือ “ประเทศใดผลิตไวน์เป็นประเทศแรกในโลก ?” จริง ๆ เรื่องนี้มีการถกเถียงกันมาโดยตลอด และยังไม่มีข้อสรุป ที่สรุปได้ก็คือขึ้นอยู่กับว่าประเทศใดจะอ้างอิง อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงเรื่องดังกล่าว มีชาติหนึ่งที่มักจะถูกกล่าวถึง ไม่ใช่ประเทศที่มีไวน์กระจายอยู่ในตลาดโลกปัจจุบันอย่าง ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน ฯลฯ แต่เป็นชาติที่หลายคนอาจะคาดไม่ถึง นั่นคือ “จอร์เจีย” !! จอร์เจีย (Georgia) ได้รับการบันทึกว่าเป็นชาติผลิตไวน์เก่าแก่ที่สุดชาติหนึ่งในยุโรปและของโลก และได้ชื่อว่าเป็น “The birth place of wine” หรือ “The Cradle of Wine...